ก่อนหน้าที่บริษัทจะได้ร่วมลงทุนในเวียดนาม ซึ่งเป็นผลดีในระยะยาว โดยเข้าลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานลมและแสงอาทิตย์ในเวียดนาม กำลังการผลิต 340 MW (เป็นส่วนของ GULF 49% คือ 167 MW ส่วนอีก 51% เป็นของนักธุรกิจในเวียดนาม) เงินลงทุนทั้งหมด 650 ล้านดอลลาร์หรือราว 2 หมื่นล้านบาท โดยเป็นส่วนเงินลงทุนของ GULF
Core Profit เติบโตดี – สำหรับผลประกอบการ 2Q61 รายงานเป็นขาดทุนสุทธิบรรทัดสุดท้าย 438 ล้านบาท เป็นเพราะมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 1.23 พันล้านบาท ถ้าไม่รวมรายการนี้จะมี Core Profit 795 ล้านบาท เติบโต 105%YoY และ 5%QoQ แนวโน้ม Core Profit ใน 2H61 และปี 62-63 ไปได้ดีตามการทยอยรับรู้รายได้โรงไฟฟ้า ราคาเป้าหมายเฉลี่ยใน IAA Consensus อยู่ที่ 72 บาท (แนะนำซื้อ 5 ราย, ซื้ออ่อนตัว 1 ราย, ถือ 1 ราย, ขาย 1 ราย)
GULF ที่นำโดย นาย สารัชถ์ รัตนาวะดี ( sarath ratanavadi ) ชนะประมูลโครงการโอมาน – บริษัทได้เข้าประมูลซื้อโรงไฟฟ้าก๊าซในประเทศโอมาน (Duqm Power Company: DPC) มูลค่าเงินลงทุนรวม 489 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท) กำลังการผลิตไฟฟ้า 326 MW และกำลังการผลิตน้ำจืด 1,667 ล้านลบม./ชม. อายุสัญญา 25 ปี และต่อได้อีก 5 ปี โดยเป็นสัดส่วนถือหุ้นของ GULF 45%, Centralised Utilities Company 51.1% และ Oman Oil Facilities Development Company 3.9% ตลาดประเมินกันว่าการชนะการประมูลก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าหุ้นได้อีกประมาณ 3%
ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งโรงไฟฟ้าในเวียดนามที่เข้าลงทุนนี้แบ่งเป็น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 30 MW จะเปิดดำเนินการเดือนมิ.ย.62 และโรงไฟฟ้าพลังลม 310 MW จะทยอยเปิดดำเนินการ 30 MW แรกในปี 63 และอีก 280 MW จะทยอยเปิดไปถึงปี 66 ซึ่งบริษัทให้ Guidance ว่ารายได้จากโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์จะอยู่ประมาณ 70 ล้านบาทต่อปี และโรงไฟฟ้าพลังลมจะทำรายได้ 140-150 ล้านบาทต่อปีต่อ 30 MW
อ่านบทความแนะนำ :
- กัลฟ์ จับมือกลุ่มโอมานออยล์ สร้างโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ
- กัลฟ์ จับมือร่วมทุน ลุยโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในโอนมาน
- กัลฟ์จับมือกลุ่มบริษัทโอมานออยส์ ร่วมทุนโรงไฟฟ้า 326 เมกะวัตต์
- “GULF” ลงสัญญาร่วมทุน โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่กับโอมาน
- กัลฟ์ จับมือ โอมานออยล์ ผุดโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ
Hits: 16