ออกแบบเว็บไซต์
หมวดหมู่
- การศึกษา (237)
- ข่าวสารเว็บไซต์ (333)
- ข่าวโปรโมชั่น (245)
- คลิปวีดีโอเด็ดๆ (11)
- ทั่วไป อื่นๆ (967)
- ที่พัก (54)
- บริการรับจ้างทั่วไป (78)
- บันเทิง ดารา ภาพยนตร์ (13)
- สุขภาพ (132)
- ออนไลน์น่ารู้ (398)
- เดินทางท่องเที่ยว (75)
- เตือนภัยมิจฉาชีพออนไลน์ (29)
- แนะนำสินค้าและบริการ (478)
บทความล่าสุด
- Can vashikaran be used for personal gain or only for relationship issues July 18, 2025
- Retire in Hua Hin: Where Tranquility Meets Quality Living July 18, 2025
- เทียบข้อดี-ข้อเสีย รถเทรลเลอร์แบบต่างๆ ที่ใช้ในกรุงเทพฯ เลือกแบบไหนดี? July 18, 2025
- ความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ คนเราทุกคนเกิดมาอาจจะไม่เท่าเทียมกัน รวยไม่เท่ากัน มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่เท่ากัน แต่จะทำอย่างไรให้ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน กฎหมายจึงเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างความยุติธรรม สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับคนในสังคม #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ July 18, 2025
- ขอมีภริยาน้อย คำพิพากษาฎีกาที่ 1437/2565 ในวันเกิดเหตุผู้ตายทะเลาะกับจำเลย โดยผู้ตายขอมีภริยาน้อย พูดจาดูถูกเหยียดหยามบุพการีจำเลย ไล่จำเลยให้ออกจากบ้านและผู้ตายทำร้ายร่างกายจำเลย ซึ่งการที่ผู้ตายด่าว่าจำเลยที่เป็นภริยาในลักษณะดูถูกเหยียดหยามและขอมีภริยาน้อยทั้งด่าไปถึงบุพการีของจำเลยและทำร้ายจำเลยเช่นนั้น ย่อมทำให้จำเลยรู้สึกแค้นเคืองเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย โดยขณะ พ. เข้ามาช่วยผู้ตายจำเลยยังพูดกับ พ. ว่า “ไม่ต้องไปช่วยมัน” จึงเป็นการกระทำความผิดขณะบันดาลโทสะอยู่ จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น โดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 72 ซึ่งศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ นอกจากนั้นเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ตายมีส่วนก่อให้จำเลยกระทำความผิด ผู้ตายจึงมีส่วนในการกระทำความผิดอยู่ด้วย ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ตามประมวลกฎหมายวิพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) นาย ม. โดย นาง ส. ผู้แทนเฉพาะคดี ย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหม่ายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม มาตรา 30 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นาย ม.โดย นาง ส. ผู้แทนเฉพาะคดี เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วย มาตรา 225 #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ July 18, 2025
- เคล็ดลับสร้างแบรนด์ติดตลาด ด้วยบริการ รับผลิตเครื่องสำอาง จากมืออาชีพ July 18, 2025
- Retirement with Peace, Purpose, and Community: Why Hua Hin is the Ideal Destination July 17, 2025
- จำเลยอ้างครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกาให้โจทก์ชนะ เพราะจำเลยไม่แสดงเจตนาเป็นเจ้าของ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2552 การครอบครองโดยปรปักษ์นั้น มิใช่เพียงแต่ยึดถือเพื่อตนเองอย่างสิทธิครอบครองเท่านั้น ยังจะต้องมีการยึดถือครอบครองด้วยเจตนาจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย ส่วนจะมีเจตนาเป็นเจ้าของหรือไม่ซึ่งเป็นเรื่องอยู่ภายในจิตใจ ต้องอาศัยพฤติการณ์ต่างๆ แห่งการยึดถือครอบครองมาประกอบว่าพอจะเป็นการยึดถือครอบครองอย่างเป็นเจ้าของได้หรือไม่ สำหรับการครอบครองที่ดินพิพาทของ ม.ย. และจำเลย ก่อนวันที่ 8 สิงหาคม 2509 ไม่ได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่มีเอกสารสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ กรณีจึงรับฟังได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ ส่วนการครอบครองนับแต่วันที่ดินพิพาทมีโฉนดที่ดินแล้ว ก็ไม่ปรากฏถึงพฤติการณ์แห่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยว่ามีเจตนาเป็นเจ้าของแต่อย่างใด เนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้ครอบครองเคยแสดงออก เช่น หวงกันมิให้บุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือดูแลรักษาที่ดินพิพาทไว้เพื่อประโยชน์แห่งตนและปฏิเสธต่อการอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของต่อบุคคลอื่นเป็นต้น ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ที่ดินของโจทก์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ July 17, 2025
- การจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนอื่นโดยการครอบครองปรปักษ์ จะต้องครอบครองหลังจากที่ดินมีโฉนดแล้ว และต้องครอบครองติดต่อกันด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6462/2549 ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เนื่องจากการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเป็นต้นไป ทั้งผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนจะมีการออกโฉนดที่ดินรวมเข้าด้วยก็มิได้ เพราะการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น ใช้ได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังเป็นยุติว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 121 ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 ทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่นาย ก. คือ โฉนดเลขที่ 11425 ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องมีว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 ถึงวันฟ้อง คือวันที่ 24 ธันวาคม 2545 ยังไม่ถึง 10 ปี แม้ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเป็นต้นไป ทั้งผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนจะมีการออกโฉนดที่ดินรวมเข้าด้วยก็มิได้ เพราะการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น ใช้ได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ July 17, 2025
- ตำรวจใช้ ไปซื้อยา จึง เป็นแค่เครื่องมือของตำรวจ ไม่มีความผิด ไม่ได้มีเจตนาทำผิดเอง คุณก็อาจจะไม่ต้องรับโทษคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2554การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมไปซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 2 มาให้เจ้าพนักงานตำรวจครั้งนี้ก็เพราะหวังค่าจ้าง ซึ่งไม่ว่าค่าจ้างนั้นจะเป็นกรณีตามที่โจทก์นำสืบว่าค่าจ้าง คือ แบ่งเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวนครึ่งเม็ดหรือไม่มีค่าจ้าง จำเลยที่ 1 คงจะไม่ไปดำเนินการซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 2 มาให้ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยที่ 1 ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้ ถือเป็นการอาศัยจำเลยที่ 1 เป็นเครื่องมือ เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นผู้เริ่มมิใช่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มในการไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 ส่วนการที่เจ้าพนักงานตำรวจมอบธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อให้จำเลยที่ 1 ก็ดี หรือการที่จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนของกลางมามอบให้เจ้าพนักงานตำรวจก็ดี เป็นวิธีการอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานตำรวจที่เคยให้สายลับไปดำเนินการ ซึ่งโดยปกติเจ้าพนักงานตำรวจก็มักจะให้ค่าตอบแทนแก่สายลับ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของการสืบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยที่ 1 จึงอยู่ในสถานะเดียวกับสายลับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำความผิด#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ July 16, 2025