หมวดหมู่
- การศึกษา (237)
- ข่าวสารเว็บไซต์ (330)
- ข่าวโปรโมชั่น (243)
- คลิปวีดีโอเด็ดๆ (11)
- ทั่วไป อื่นๆ (963)
- ที่พัก (54)
- บริการรับจ้างทั่วไป (77)
- บันเทิง ดารา ภาพยนตร์ (13)
- สุขภาพ (131)
- ออนไลน์น่ารู้ (396)
- เดินทางท่องเที่ยว (75)
- เตือนภัยมิจฉาชีพออนไลน์ (29)
- แนะนำสินค้าและบริการ (475)
บทความล่าสุด
- Retirement with Peace, Purpose, and Community: Why Hua Hin is the Ideal Destination July 17, 2025
- จำเลยอ้างครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกาให้โจทก์ชนะ เพราะจำเลยไม่แสดงเจตนาเป็นเจ้าของ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2552 การครอบครองโดยปรปักษ์นั้น มิใช่เพียงแต่ยึดถือเพื่อตนเองอย่างสิทธิครอบครองเท่านั้น ยังจะต้องมีการยึดถือครอบครองด้วยเจตนาจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย ส่วนจะมีเจตนาเป็นเจ้าของหรือไม่ซึ่งเป็นเรื่องอยู่ภายในจิตใจ ต้องอาศัยพฤติการณ์ต่างๆ แห่งการยึดถือครอบครองมาประกอบว่าพอจะเป็นการยึดถือครอบครองอย่างเป็นเจ้าของได้หรือไม่ สำหรับการครอบครองที่ดินพิพาทของ ม.ย. และจำเลย ก่อนวันที่ 8 สิงหาคม 2509 ไม่ได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่มีเอกสารสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ กรณีจึงรับฟังได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ ส่วนการครอบครองนับแต่วันที่ดินพิพาทมีโฉนดที่ดินแล้ว ก็ไม่ปรากฏถึงพฤติการณ์แห่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยว่ามีเจตนาเป็นเจ้าของแต่อย่างใด เนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้ครอบครองเคยแสดงออก เช่น หวงกันมิให้บุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือดูแลรักษาที่ดินพิพาทไว้เพื่อประโยชน์แห่งตนและปฏิเสธต่อการอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของต่อบุคคลอื่นเป็นต้น ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ที่ดินของโจทก์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ July 17, 2025
- การจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนอื่นโดยการครอบครองปรปักษ์ จะต้องครอบครองหลังจากที่ดินมีโฉนดแล้ว และต้องครอบครองติดต่อกันด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6462/2549 ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เนื่องจากการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเป็นต้นไป ทั้งผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนจะมีการออกโฉนดที่ดินรวมเข้าด้วยก็มิได้ เพราะการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น ใช้ได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังเป็นยุติว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 121 ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 ทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่นาย ก. คือ โฉนดเลขที่ 11425 ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องมีว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 ถึงวันฟ้อง คือวันที่ 24 ธันวาคม 2545 ยังไม่ถึง 10 ปี แม้ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเป็นต้นไป ทั้งผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนจะมีการออกโฉนดที่ดินรวมเข้าด้วยก็มิได้ เพราะการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น ใช้ได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ July 17, 2025
- ตำรวจใช้ ไปซื้อยา จึง เป็นแค่เครื่องมือของตำรวจ ไม่มีความผิด ไม่ได้มีเจตนาทำผิดเอง คุณก็อาจจะไม่ต้องรับโทษคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2554การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมไปซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 2 มาให้เจ้าพนักงานตำรวจครั้งนี้ก็เพราะหวังค่าจ้าง ซึ่งไม่ว่าค่าจ้างนั้นจะเป็นกรณีตามที่โจทก์นำสืบว่าค่าจ้าง คือ แบ่งเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวนครึ่งเม็ดหรือไม่มีค่าจ้าง จำเลยที่ 1 คงจะไม่ไปดำเนินการซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 2 มาให้ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยที่ 1 ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้ ถือเป็นการอาศัยจำเลยที่ 1 เป็นเครื่องมือ เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นผู้เริ่มมิใช่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มในการไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 ส่วนการที่เจ้าพนักงานตำรวจมอบธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อให้จำเลยที่ 1 ก็ดี หรือการที่จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนของกลางมามอบให้เจ้าพนักงานตำรวจก็ดี เป็นวิธีการอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานตำรวจที่เคยให้สายลับไปดำเนินการ ซึ่งโดยปกติเจ้าพนักงานตำรวจก็มักจะให้ค่าตอบแทนแก่สายลับ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของการสืบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยที่ 1 จึงอยู่ในสถานะเดียวกับสายลับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำความผิด#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ July 16, 2025
- A Simple Life, A Happy Heart: Embracing Retirement in Hua Hin July 15, 2025
- เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2558แม้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 และมาตรา 214 แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายกฎหมายคุ้มครองให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ตามมาตรา 1734 และมาตรา 1738 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ได้ การที่ทายาทของลูกหนี้จะต้องรับผิดทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกก็เพื่อให้เจ้าหนี้มีทางได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ไม่ทำให้ทายาทนั้นต้องรับผิดชดใช้จากทรัพย์สินส่วนตัวด้วย หากทายาทรับทรัพย์สินจากกองมรดกของผู้ตายไปแล้วก็เพียงให้รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับไปตามมาตรา 1601 และมาตรา 1738 วรรคสอง โดยยังถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับไปนั้นเป็นกองมรดกอยู่ คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทรับผิดในค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ตายเจ้ามรดกกระทำละเมิด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาท#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ July 13, 2025
- ที่ดินสินสมรสโอนที่ดินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จะเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายไม่ได้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2537เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงอ้างสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยที่ 3 ผู้รับโอนคนใหม่ไม่ได้ ไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตหรือไม่ เพราะสิทธิของโจทก์ได้ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ครั้งจำเลยที่ 2 รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินสมรสที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือให้ความยินยอมนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 รู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต นิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นโมฆะ ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปจัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์ถ้าไม่สามารถโอนได้ ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้ราคา จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตในราคา 250,000 บาทต่อมาจำเลยที่ 2 ได้โอนขายให้จำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นเดียวกันจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 3 ให้การว่า การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำโดยสุจริตจำเลยที่ 3 ได้จดทะเบียนซื้อขายจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริต ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฏีกาพิพากษายืน#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ July 13, 2025
- ตัวการร่วมกันลักทรัพย์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2567 แม้จะไม่มีพยานเห็นขณะจำเลยร่วมกับ บ. ยกถังสแตนเลสของโจทก์ร่วมขึ้นรถกระบะ แต่จากพฤติการณ์ที่จำเลยและ บ. ร่วมนั่งมาในรถกระบะคันเดียวกันโดยขาออกจากไร่มีถังดังกล่าวบรรทุกอยู่ที่กระบะท้าย ครั้นเมื่อกลับเข้ามาในไร่พร้อมกันกลับไม่มีถังดังกล่าวบรรทุกกลับมาด้วย บ่งชี้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับ บ. เป็นคนร้ายลักเอาถังสแตนเลสของโจทก์ร่วมไป #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ July 13, 2025
- เชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2547บทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 84 หมายความว่า ผู้ใช้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดโดยผู้ถูกใช้รู้ว่าการกระทำตามที่ถูกใช้เป็นความผิด หากผู้ถูกใช้กระทำความผิดตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ หากผู้ถูกใช้ไม่กระทำผิดตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษหนึ่งในสามของโทษที่กำหนด คดีนี้ บ. เป็นนักการภารโรงไม่มีส่วนได้เสียในบัญชีเงินกู้และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างหรือให้ประโยชน์แก่ บ. ในการเผาทำลายบัญชีเงินกู้ จึงไม่มีเหตุที่ บ. ต้องเผาบัญชีเงินกู้ หาก บ. ทราบว่าการเผาทำลายบัญชีเงินกู้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย บ. ก็คงไม่กระทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 เนื่องจาก บ. อาจต้องรับโทษโดยที่ตนเองไม่ได้ประโยชน์ แต่ บ. ยอมเผาบัญชีเงินกู้ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาคงเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ บ. เผาบัญชีเงินกู้นั้น จึงไม่ใช่เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เพราะ บ. ผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่เป็นการที่จำเลยที่ 1 ใช้ บ. เป็นเครื่องมือของจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ July 13, 2025
- จำเลยเป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2537จำเลยใช้ให้เด็กหญิงป.ไปรับยาเสพติดให้โทษเฮโรอีน โดยเด็กหญิงป.ไม่ทราบข้อเท็จจริง การที่เด็กหญิงป. ครอบครองยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนก็ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนเอง#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ July 13, 2025