พูดเรื่องจริง จะฟ้องหมิ่นประมาทคนพูดได้หรือไม่
คำตอบ คือ ถึงแม้จะพูดเรื่องจริง ก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทได้(มาตรา 326) แต่ก็มีหลักกฎหมายที่ระบุว่า ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท(มาตรา 329) หรือ
มีข้อยกเว้นเที่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 330 )
โดย….ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา ๓๒๖ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ( คำว่า “ใส่ความ” ตามภาษากฎหมาย คือ การพูดเรื่องอะไรก็ได้ที่ทำให้คนอื่นหรือผู้อื่นฟังแล้วเกิดความเสียหายกับผู้นั้น แม้จะเป็นเรื่องจริงก็ตาม)
แต่ก็มีหลักกฎหมายตามมาตรา 329 ที่ระบุว่า ผู้ที่ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ได้แก่บุคคลที่ซึ่งบัญญัติไว้ตามมาตรา 329 คือ
มาตรา 329 ประมวลกฎหมายอาญา คือ ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(๑) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(๒) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(๓) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(๔) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท “
สำหรับหลักกฎหมาย ที่ได้รับการยกเว้นที่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 330 )
มาตรา 330 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
สรุปอีกครั้ง คือ
พูดเรื่องจริง จะฟ้องหมิ่นประมาทคนพูดได้หรือไม่
คำตอบ คือ ถึงแม้จะพูดเรื่องจริง ก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทได้(มาตรา 326) แต่ก็มีหลักกฎหมายที่ระบุว่า ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท(มาตรา 329) หรือ มีข้อยกเว้นเที่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 330 )

#image_title