หากนับจากวิวัฒนาการของวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการล้อมรั้วในแบบของลวดหนาม ตั้งแต่ที่มีการพัฒนาเสารั้ว จากเดิมที่เป็นไม้ไปสู่เสารั้วปูน และยังต่อเนื่องมาจนปัจจุบันที่เป็นเสารั้วคอนกรีตแบบอัดแรง เป็นรูปแบบสำเร็จรูปของเสารั้วคอนกรีตที่ถือว่าทำให้คุณภาพของการล้อมรั้วลวดหนามนั้น มีความทนทานมากกว่าเดิม
แต่แน่นอนว่าในด้านของลวดหนามเอง ก็ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการล้อมรั้วในรูปแบบนี้ และการพัฒนานวัตกรรมของลวดหนาม ตั้งแต่การชุบสารต่างๆ ตั้งแต่ซิงค์หรือบรรดาหมวดหมู่ของสารกันสนิม ที่ใช้กับการชุบโลหะเพื่อยืดอายุการใช้งานของรั้วลวดหนามโดยตรง แต่ก็ยังมีการพัฒนาต่อยอดกันมาล่าสุด จนกลายเป็นการชุบซิงค์อลูนั่นเอง ซึ่งนั่นทำให้เกิดลวดหนามที่เรียกกันว่า ลวดหนามซิงค์อลู เป็นสิ่งที่ใหม่มาก อาจจะเป็นรูปแบบใหม่ที่มีการใช้งานกันทั่วโลกในทุกวันนี้ก็ว่าได้ เราจะมาทำความรู้จักกับการล้อมรั้วลวดหนาม ในการใช้วัสดุที่ทันสมัยที่สุดในโลกนี้ไปพร้อมๆ กัน
คุณสมบัติและการผลิตลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมน
หากเป็นชื่อทางการกันนั้น บางท่านอาจจะเรียกลวดหนามซิงค์อลูว่า ไวน์แมน หรือ ซิงค์อลูไวน์แมน โดยการเคลมในด้านของการทนสนิมนั้น ถือว่าลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมนนั้น มีประสิทธิภาพที่สามารถทำได้ยาวนานมากกว่า 80 ปี เป็นการการันตีจากทุกโรงงานทั่วโลก ที่ต่างออกการรับประกันนี้มาพร้อมๆ กัน ซึ่งถือว่ามีจุดเด่นและความพิเศษ หากดูในรายละเอียดของการผลิตลวดหนามชนิดนี้ มีความซับซ้อนกว่านิดหน่อย มีการเพิ่มสารบางอย่างเพื่อให้เกิดความทนทานมากกว่า ทนต่อสนิมได้ยาวนาน
โดยพระเอกของวัตถุดิบของวัสดุชนิดนี้นั้น ต้องยกให้กับทางด้านของซิงค์อลู เป็นนวัตกรรมของการชุบซิงค์ และยังไม่หมดเท่านั้น เพราะยังมีการเพิ่มสารผสมที่ทำขึ้นจากอลูมีเนียม ที่มีความทนทานต่อสนิม หรือไม่มีสนิมขึ้นเลยแม้แต่นิดเดียวสำหรับวัสดุชนิดนี้ ซึ่งจะอยู่ในส่วนผสมของลวดหนามซิงค์อลู 10 % ด้วยกัน เป็นการผสมผสานในสัดส่วนที่พอเหมาะทำให้เกิดสมดุล ทั้งด้านความแข็งแรงจากลวดเหล็กกล้าเดิม ที่เป็นวัตถุดิบของรั้วลวดหนามอยู่แล้ว และยังมีซิงค์อลูมาเป็นปัจจัยของการป้องกันสนิมเพิ่มเติมอีกนั่นเอง
ความทนทานแรงดึงของลวดหนามซิงค์อลูจากการทดสอบ
หน่วยของการทดสอบการต้านทานแรงดึงของลวดหนามที่มาจากขั้นตอนการผลิตแบบซิงค์อลู โดยเป็นผลจากการทดสอบผ่านห้องแล็ปในระดับมาตรฐานโลก ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองนี้นั้น สามารถทำได้สูงถึง 1,100 – 1,200 นิวตันต่อตารางเมตรเลยทีเดียว นับว่าเป็นความสามารถที่ได้จากการพัฒนาต่อยอดลวดหนามแบบเดิมที่แค่ชุบซิงค์หรือสารกันสนิม ที่เดิมทีก็ถือว่าทนสนิมแล้วในระดับหนึ่ง แต่เมื่อด้วยรวมส่วนผสมของอลูมีเนียม 10 % เข้าไป ก็ยิ่งทำให้ความสามารถของลวดหนามชนิดใหม่ล่าสุดนี้เพิ่มเติมความทนทานในด้านของการรับแรงดึงมากขึ้นอีก
และนอกจากนั้นหากท่านเลือกที่จะล้อมรั้วลวดหนามตามรูปแบบนี้นั้น ท่านจะได้คุณสมบัติของรั้วลวดหนาม ที่มีลวดหนามในแบบพันเกลียวที่เรียกกันว่า เกลียวไขว้สลับสวนทาง หรือ Reversed Twist นั่นเอง โดยการพันเกลียวแบบนี้่ ถือว่าพบเห็นใช้งานกับการพันในลวดหนามแบบซิงค์อลูไวน์แมนเท่านั้นอีกด้วย
สรุป
ถ้าเรื่องของการล้อมรั้วลวดหนามในตอนนี้ คงต้องยอมให้กับนวัตกรรมลวดหนามซิงค์อลู ที่ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ล่าสุดที่ทั่วโลกต่างก็ต้องยอมรับ และเลือกไปใช้งานกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจจะนับได้ว่าเป็นรั้วลวดหนามที่น่าจะอยู่ในทุกๆ รูปแบบของการล้อมรั้วในแนวทางเดียวกันนี้และสำหรับยุคนี้เลยก็ว่าได้