สร้างบ้านสไตล์ไทย ที่มาพร้อมกับการใช้เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน

สร้างบ้านสไตล์ไทย ที่มาพร้อมกับการใช้เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน

การใช้เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน

ปัจจุบันในประเทศไทย ในทุกๆ โครงสร้างของบ้าน ที่เริ่มตั้งแต่บ้านชั้นเดียว ไปจนถึงบ้านในลักษณะมากกว่า 2 ชั้นขึ้นไป ถือว่าเป็นบ้านที่มีปัจจัยของการออกแบบ ที่ต้องมีความเข้าใจถึงความเสี่ยงและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่จะทำให้บ้านมีความแข็งแรงมั่นคงยิ่งขึ้น เป็นสไตล์ไทยที่มีการให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และอายุการใช้งานของบ้านที่ยาวนานยิ่งขึ้น

ดังนั้นจึงพบเห็นว่า ปัจจุบันจะมีให้เห็นน้อยมากกับลักษณะของบ้าน ที่มีการทรุดในระยะเวลาที่เข้าพักอาศัย เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เป็นผลมาจากตัวแปรของการใช้ส่วนประกอบที่อยู่ใต้ฐานราก ที่มีเสาเข็มที่เรียกว่า เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของโครงสร้างบ้านในแบบไทยในยุคใหม่นั่นเอง

 

ความแข็งแรงของชุดโครงสร้างบ้านที่ได้จากการใช้งานเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน

ถ้าหากว่าจะหาเสาเข็มที่จะทำงานร่วมกับฐานรากได้อย่างสมดุลที่สุด การที่เสาเข็มจะมีลักษณะของหน้าตัด ที่มีผิวสัมผัสที่ได้รับการการันตีแล้วว่า พื้นผิวสัมผัสของเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน สามารถสร้างแรงเสียดทานใต้ผิวดินได้เป็นอย่างดี จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะการันตีได้ว่า เสาเข็มชนิดนี้จะสามารถเป็นส่วนประกอบหนึ่งของความแข็งแรงที่เกิดขึ้นภายใต้โครงสร้าง ของรูปแบบบ้านพักอาศัยในแบบไทยได้ทุกแบบอย่างสมบูรณ์ที่สุด

ซึ่งปัจจุบันแม้กระทั่งการรีโนเวทบ้านที่ผ่านอายุมาหลายสิบปี อาจจะเกินร้อยปี หากต้องเพิ่มพื้นที่ใช้สอย หรือแก้ไขปัญหาของความเสี่ยงของบ้าน ที่มีแนวโน้มที่จะทรุดนั้น การใช้เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน เข้าไปแก้ไขปัญหาเหล่านั้นก็ถือว่า เป็นส่วนผสมที่ลงตัวของการประกอบร่างของชุดโครงสร้างเก่า ให้แข็งแรงเหมือนใหม่ได้เช่นกัน โดยถือว่าเป็นหนึ่งในสูตรสำเร็จ ที่บ้านในประเทศเรานั้น สามารถทนทานต่อทุกสภาพอากาศ มีเปอร์เซ็นต์ของการชำรุดที่น้อย ไม่ว่าจะเป็นชุดโครงสร้างในรูปแบบใดๆ ก็ตาม

 

คุณภาพของการทำงานร่วมกับฐานรากของเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน

ฐานรากก็คงจะเหมือนกับพื้นฐานที่จะคอยรองรับน้ำหนักทั้งหมด ที่นับจากส่วนบนสุดอย่างโครงหลังคา วัสดุมุงหลังคา และนับเรียงจากบนลงมาหาล่างซึ่ง ถ้าหากว่าเป็นการสร้างบ้านแบบสไตล์ไทยเรา ที่แม้ว่ายุคนี้จะมีการผสมผสานดีไซน์ของตะวันตกมาเป็นส่วนหนึ่งของแบบบ้าน ที่คนรุ่นใหม่นิยมมากขึ้น แต่แน่นอนว่าการถ่ายเทน้ำหนัก หรือน้ำหนักทั้งหมดของโครงสร้างนั้น ก็ยังคงต้องพึ่งพาการทำงานโครงสร้างทั้งหมด ที่อ้างอิงจากความแข็งแรงของชุดงานฐานรากอยู่

ดังนั้นคุณภาพของการทำงานควบคู่กันระหว่าง เสาเข็มสี่เหลี่ยมตันกับฐานราก ที่มีลักษณะของฟังก์ชั่นการใช้งาน ที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสม จึงเป็นเหมือนกับการจับคู่ ที่ทำให้เกิดเคมีที่เข้ากันอย่างลงตัว เกิดการรับน้ำหนักบรรทุกทั้งหมดของโครงสร้างบ้านแบบไทย ไม่ว่าจะกี่ชั้นก็สามารถทำงานได้อย่างลงตัว ซึ่งจะถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญ ของบ้านแทบจะทุกแห่งในประเทศเราตอนนี้ เป็นบ้านที่แข็งแรง และรับรองเรื่องความทนทานของโครงสร้างได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ หากเป็นการสร้างขึ้นจากชุดฐานราก ที่มีเสาเข็มสี่เหลี่ยมตันรองรับอยู่ใต้ดิน

 

บทสรุปตอนท้าย

ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ ของการสร้างบ้านแบบใดๆ ก็ตาม ในประเทศเราตอนนี้ เชื่อได้เลยว่า ร้อยละ 99 ของโครงสร้างฐานราก ที่เป็นจุดเริ่มต้น ของการก่อสร้างบ้านแบบไทย ที่เราพูดถึงอยู่นี้นั้น เป็นการเริ่มต้นจากการทำงาน ด้วยเสาเข็มสี่่เหลี่ยมตันกันทั้งหมดแน่นอน ซึ่งปัจจุบันนี้น่าจะนับอายุมากกว่าห้าสิบปี ที่มีการใช้งานเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน ในแวดวงของการสร้างบ้านในประเทศเราเลยทีเดียว

3 สิ่งที่น่าสนใจของเสาไฟฟ้าคอนกรีต

3 สิ่งที่น่าสนใจของเสาไฟฟ้าคอนกรีต

เสาไฟฟ้าคอนกรีต

ปัจจุบันเสาไฟฟ้าคอนกรีต ถือว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่งที่มีผลกับชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าถ้าขาดเสาไฟฟ้าไป ก็เท่ากับคุณภาพชีวิตของผู้คนนั้นต้องมีปัญหาตามมามากมายแน่นอน

เพราะฉะนั้นความสำคัญของสิ่งปลูกสร้างสาธารณะชนิดนี้ ถือวาเป็นหนึ่งในข้อมูลที่หลายๆ ท่านจำเป็นที่จะต้องได้รับรู้ข้อมูลบางอย่าง ไว้เป็นความรู้ สำหรับทำความเข้าใจกับสิ่งปลูกสร้างประเภทนี้ให้มากขึ้น ดังนั้นเราจึงเอาข้อมูลที่จะทำให้หลายท่าน ได้เข้าใจหลายๆ ส่วนของเสาไฟฟ้ากันมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีทั้งหมด 3 ข้อที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

 

ที่มาของเสาไฟฟ้าคอนกรีต

  1. เสาไฟฟ้าคอนกรีตเป็นเสาปูนที่มีการผลิตในขั้นตอนพิเศษ

สำหรับบางท่าน อาจจะตีความเสาไฟฟ้าคอนกรีต ว่าเป็นแท่นปูนขนาดใหญ่อย่างหนึ่ง โดยที่อาจจะไม่เข้าใจว่า ในรายละเอียด ของการผลิตเสาปูนชนิดนี้นั้น ได้ถูกคัดสรรขั้นตอนต่างๆ ในการผลิต และยังรวมไปถึงวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบในการผลิต ที่มีความพิเศษกว่าเสาปูนชนิดอื่นๆ ทั่วไปที่พบเห็น เพราะตัวอย่างเช่นเหล็กเสริมพีซีไวร์ ที่ใช้กับการผลิตเสาไฟฟ้านั้น ก็เป็นเหล็กที่เรียกว่าเหล็กกล้า ที่มีใช้พิเศษ สำหรับขั้นตอนการผลิตแบบคอนกรีตอัดแรงเท่านั้น ดังนั้นเสาไฟฟ้าคอนกรีต จึงมีมาตรฐานทางด้านความทนทาน ที่แตกต่างจากเสาปูนชนิดอื่นๆ กันมากพอสมควรเลยทีเดียว ด้วยวิธีการที่ถูกใช้งาน ที่ต้องรับแรงจากหลากหลายมิติ ทั้งแรงดึง และแรงจากแนวดิ่ง เป็นต้น

 

  1. คอนกรีตที่ใช้ผลิตเสาไฟฟ้า จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 วัน

วัตถุดิบหลักๆ ของการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีต แน่นอนที่สุดว่าต้องเป็นคอนกรีต แต่ในกระบวนการที่เรียกว่า คอนกรีตอัดแรงนั้น การบ่มในแบบหล่อ ที่มีการเตรียมการไว้ในโรงงานนั้น จะต้องมีการยุในการสะสมในแบบหล่อ ที่แตกต่างจากทั่วไป โดยลิมิตต่ำสุดจะอยู่ที่ 20 วัน จึงจะการันตี ในด้านของค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุด ได้ตามมาตรฐาน ที่เป็นข้อกำหนดจากการไฟฟ้า ได้มีการกำหนดไว้ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่แล้วมาตรฐษน ของความแข็งแรงที่จะทำให้กำลังรับแรงที่เหมาะสม จะอยู่ที่ 28 วัน ซึ่งตัวเลขที่ได้จะต้องไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อตารางเซ็นติเมตรนั่นเอง

 

  1. ข้อกำหนดการไฟฟ้า เป็นตัวกำหนดคุณภาพของการผลิตเสาไฟฟ้า

และภายใต้รูปแบบ ของการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีต ที่มีความพิเศษในด้านของประสิทธิภาพ ที่มากกว่าเสาปูนทั่วไป ซึ่งเบื้องหลังของความพิเศษนี้ จะเป็นตัวกำหนดที่มาจากภาครัฐ ที่เรียกกันว่า ข้อกำหนดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่จะร่างในส่วนของสเปค ทั้งขนาดและวัตถุดิบในการผลิต และจะมีการตรวจสอบเป็นระยะ เพื่อให้มั่นใจว่า โรงงานที่รับหน้าที่ ในการผลิตและจำหน่ายเสาไฟฟ้านั้น จะทำตามกฏข้อบังคับทั้งหมดอย่างเคร่งครัด ดังนั้นในส่วนนี้จึงเป็นลักษณะที่ถือว่าตายตัว ที่จะกำหนดให้คุณภาพของเสาไฟฟ้าคอนกรีตนั้น อยู่ในมาตรฐานที่ต้องมีทั้งความแข็งแรง ทั้งคุณภาพของสัดส่วน ทั้งหน้าตัดและความยาวที่เหมาะสม

 

บทสรุป

เป็น 3 ใจความสำคัญ ที่จะแสดงให้เห็นว่า นี่คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพ ของเสาไฟฟ้าคอนกรีต เสาปูนที่มีความแข็งแรงสูง และยังมีจุดเด่นในการผลิตบางข้อ ที่มีความแตกต่างจากการผลิตเสาปูนทั่วไปอีกด้วย เพื่อให้มั่นใจที่สุดว่านี่คือการผลิตสิ่งปลูกสร้าง ที่มีส่วนสำคัญกับการใช้ชีวิตของผู้คน ดังนั้นมาตรฐานสากล และการบังคับให้ได้มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นสิ่งสำคัญตามที่ควรจะเป็นที่สุด

 

บทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

การใช้งานเสาไฟฟ้า ตามขนาดหน้าตัดและความยาว

เสาไฟฟ้า มีกี่ขนาด กี่ประเภท พร้อมแนะนำสายบนเสาไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

เทคนิคบ้านเย็น วิธีทำให้บ้านมีการระบายอากาศที่ดี

เทคนิคบ้านเย็น วิธีทำให้บ้านมีการระบายอากาศที่ดี

เทคนิคบ้านเย็น วิธีทำให้บ้านมีการระบายอากาศที่ดี

การสร้างบ้านไว้เป็นที่อยู่อาศัย นอกจากความแข็งแรง สวยงาม และฟังก์ชันการทำงานที่ช่วยเติมเต็มคนในบ้านแล้ว บรรยากาศภายในและรอบบ้าน ก็ควรมีความเหมาะสมด้วยเช่นกัน เพื่อให้ “บ้าน” กลายเป็นบ้านที่น่าอยู่และส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งกายและใจให้คนในบ้านนั่นเอง

 

สร้างบรรยากาศบ้านคืออะไร

เมื่อพูดถึงการสร้างบรรยากาศภายในบ้านรวมถึงรอบๆ บ้าน หลายคนอาจจะนึกถึงการตกแต่ง เช่น การตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ การใช้แสง สี และเสียงเข้ามาช่วยสร้างบรรยากาศให้น่าอยู่ การจัดสวน เป็นต้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันและหลายคนมักจะมองข้ามนั่นก็คือ การระบายอากาศ ซึ่งบ้านที่ดีควรมีการระบายอากาศที่ดี เพราะไม่ใช่แค่ส่งผลต่อบ้านที่เราอาศัยอยู่ ยังส่งผลต่อสุขภาพของเราด้วย

อ้างอิงจากบทความของ สสส. เรื่องคนไทยป่วยโรคภูมิแพ้ เพิ่ม3-4เท่า ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากมลพิษภายในบ้านนั่นเอง สาระสำคัญก็คือ บ้านต้องสะอาดและมีการถ่ายเทอากาศที่ดี จึงเป็นที่มาของบทความนี้ โดยเราจะมาแชร์วิธีการสร้างบรรยากาศที่ดีภายในและรอบบ้าน และในขณะเดียวกันก็มีการระบายอากาศที่ด้วย

 

วิธีทำให้บ้านมีการระบายอากาศที่ดี

จัดบ้านให้เรียบร้อย ยิ่งโล่งยิ่งเย็น

แค่เห็นบ้านรกก็หายใจหายคอไม่สะดวกแล้ว สิ่งที่ควรทำเลยก็คือ จัดบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ให้โล่งเข้าไว้ แต่หากของใช้ภายในบ้านเยอะมากๆ เพียงแค่จัดเข้าตู้ให้เรียบร้อยไม่เกะกะ ก็จะช่วยให้บรรยากาศภายในบ้านน่าอยู่มากขึ้น

 

หน้าต่างยิ่งเยอะยิ่งดี

แน่นอนว่ายิ่งเรามีทางเข้า-ทางออกให้ลมมากเท่านั้น การระบายอากาศภายในบ้านก็ยิ่งดีเท่านั้น อากาศเก่าไป อากาศใหม่มา หมุนเวียนได้อย่างทั่วถึง ทริคก็คือ บานหน้าต่างของแต่ละทิศจะต้องสมดุลกัน เช่น หน้าต่างฝั่งที่ลมเข้า ควรติดตั้งตรงข้ามหรือเยื้องเล็กน้อยกับลมออก เพียงเท่านี้บ้านของเราก็จะเย็นสบายเพราะมีลมเข้า-ออกตลอดทั้งวัน บ้านไม่อับชื้น แทบจะไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศกันเลยทีเดียว

 

Active AIRflow System

ไม่ใช่ทุกคนที่ชอบบ้านมีหน้าต่างเยอะ เพราะมันมักจะตามมาด้วยการติดตั้งผ้าม่านหรือฟิล์มกันแดด โดยเฉพาะบ้านในเมืองซึ่งมักจะมีปัญหามลภาวะทางอากาศ ไม่ว่าจะฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ฝุ่นจากรถวิ่งผ่านหน้าบ้าน ยังไม่รวมพวกสัตว์และแมลงที่อาจจะเข้ามาโดยไม่รู้ตัว หลายบ้านจึงไม่นิยมเปิดหน้าต่างและใช้การเปิดเครื่องปรับอากาศแทน แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า Active AIRflow System เป็นตัวช่วยระบายอากาศภายในบ้านได้ดีเลยทีเดียว

กำแพงระบายลม

เพิ่มช่องระบายลมในรั้วหรือกำแพงหน้าบ้าน

การระบายอากาศที่ดี ต้องเริ่มจากรอบๆ บ้าน เพราะหากตัวบ้านมีรั้วหรือกำแพงมาบดบังมากเกินไป อาจทำให้ลมไม่สามารถพัดผ่านเข้าไปในบ้านหรือเข้าได้น้อย จนทำให้บรรยากาศภายในบ้านไม่ดีและอบอ้าวได้ ฉะนั้นควรเพิ่มช่องระบายลมในรั้วหรือกำแพงหน้าบ้านด้วย ไอเดียสร้างรั้วแบบมีช่องลม

  • ใช้บล็อกช่องลมหรือผนังอิฐช่องลมทำเป็นรั้วทั้งแผง ข้อดีคือ มีดีไซน์ให้เลือกหลากหลายแบบ มีช่องให้ลมเข้า-ออกทั้งแผงทำให้อากาศถ่ายเทได้
  • ใช้รั้วสำเร็จรูปแบบเสริมคาน ข้อดีคือ ด้วยความที่ด้านล่างเป็นแผ่นคอนกรีตทึบจึงสามารถป้องกันสัตว์เข้าบ้านได้ และในขณะเดียวกัน ด้านบนที่เสริมคานรั้วคาวบอยซึ่งมีช่องขนาดใหญ่ให้ลมพัดเข้า-ออกได้สะดวก จึงทำให้ปลอดโปร่งสบาย นอกจากคานรั้วคาวบอยหรือคานคอนกรีตแล้ว รั้วสำเร็จรูปยังสามารถเสริมลวดหนาม ตาข่ายถัก และบล็อกช่องลมได้ด้วย

สรุป

การระบายออกกาศที่ดี เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างบรรยากาศให้บ้านน่าอยู่ ทำให้คนที่อาศัยอยู่มีความสุขและสุขภาพดีทั้งกายและใจ ซึ่งวิธีทำให้บ้านมีการระบายอากาศที่ดีนั้นก็สามารถทำง่ายๆ ตั้งแต่การจัดบ้านให้โล่ง เก็บของใช้ให้เรียบร้อย การเปิดหน้าต่างรับลม หรือการใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง Active AIRfow เข้ามาช่วย และแก้ปัญหาตั้งแต่ภายนอกตัวบ้านด้วยการเพิ่มช่องระบายลมในรั้วหรือกำแพงหน้าบ้าน หากลองนำทริคเหล่านี้ไปปรับใช้ รับรองว่าบ้านของคุณนั้นจะเย็นสบายไม่อบอ้าว ที่สำคัญช่วยให้เราลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ทำให้ประหยัดเงินได้ด้วย

รั้วคาวบอย รั้วที่เหมาะสำหรับบ้านพักตากอากาศ

รั้วคาวบอย รั้วที่เหมาะสำหรับบ้านพักตากอากาศ

บ้านพักตากอากาศ ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้คนต่างปรารถนากันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคนที่พักอาศัยท่ามกลางชุมชนเมือง ต้องเจอกับการจราจรที่ติดขัดทุกวัน และที่สำคัญภาวะฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่นับวันยิ่งรุนแรงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรสำคัญของการตัดสินใจให้อยากหาที่พักผ่อนหย่อนใจ และใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติที่เงียบสงบมากยิ่งขึ้น

ดังนั้นบ้านตากอากาศจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ถือว่ามีความหมายกับผู้คนในยุคนี้มาก และแน่นอนว่าถ้าขึ้นชื่อเรื่องบ้านที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาตินั้น การจะมีองค์ประกอบของบ้านในสไตล์นั้นให้ครบถ้วน ก็ต้องมีการเลือกรูปแบบของรั้วที่เข้ากับธีมของบ้านมากที่สุด ซึ่งหนึ่งในรั้วที่เหมาะสำหรับบ้านพักตากอากาศนั้นก็คือ รั้วคาวบอย ถือว่ามีความลงตัวที่สุดแล้ว

 

บ้านพักตากอากาศคืออะไร

เป็นสถานที่ไว้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจหรือนันทนาการในวันหยุดหรือเวลาว่าง ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ที่มีธรรมชาติล้อมรอบ เช่น ริมทะเล ริมแม่น้ำ บนภูเขา เป็นต้น การได้อยู่กับธรรมชาติจะช่วยให้คลายเครียดจากเรื่องต่างๆ ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ห่างไกลจากเมือง ในขณะเดียวกันก็สามารถทำกิจกรรมนันทนาการโดยไม่มีใครรบกวนได้เช่นกัน

 

ทำไมบ้านพักตากอากาศควรใช้รั้วคาวบอย

ฟีลลิ่งของบ้านที่อยู่ท่ามกลางป่า เขา แหล่งน้ำธรรมชาติ ถือว่าเป็นส่วนผสมที่มีความเป็นรูปแบบขององค์ประกอบบางอย่าง ที่การสร้างบ้านนั้นจะต้องสามารถมองเห็นจากรอบทิศทางได้อย่างสะดวก เป็นการพักอาศัย ที่ผู้อยู่อาศัยสามารถมองเห็นความสวยงาม พื้นที่สีเขียว หรือแหล่งน้ำที่อยู่รอบข้างได้อย่างเต็มที่ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม บ้านพักตากอากาศถึงควรใช้รั้วคาวบอย นอกจากนั้นยังมีข้อดีอื่นๆ อีก

 

ข้อดีของบ้านพักตากอากาศที่ใช้รั้วคาวบอย

  1. การมองเห็นแบบ 360 องศา

เพราะรั้วคาวบอย เป็นรั้วที่มีลักษณะคล้ายกับคอกเลี้ยงสัตว์ หรือจะพูดกันจากที่ไปที่มาโดยแท้ของรั้วคาวบอยเลยนั้น ก็น่าจะต้องเป็นรั้วที่ถูกดัดแปลงประโยชน์ใช้สอยที่มีต้นกำเนิดมาจากการใช้งานให้เป็นคอกเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นลักษณะการมองเห็นแบบรอบทิศทาง ผ่านช่องคานคอนกรีตของรั้วคาวบอย ที่ไม่ว่าจะใช้จำนวน 3 หรือ 4 ชั้น ตามแบบมาตรฐานของรั้วชนิดนี้ก็ตาม แต่การสัมผัสเข้าใกล้ธรรมชาติในสไตล์บ้านพักตากอากาศที่ใช้แนวรั้วทั้งหมดเป็นรั้วคาวบอยนั้น จะเอื้อต่อการมองเห็นแบบเต็มที่ สามารถเสพบรรยากาศ หรือสูดอากาศที่บริสุทธิ์ได้แบบไม่มีอะไรมาขวางเลยทีเดียว

  1. ปรับเปลี่ยนรูปแบบดีไซน์ของรั้วได้ตลอด

ซึ่งถ้าหากว่าท่านต้องการที่จะเปลี่ยนดีไซน์ของสวนในบ้านพักตากอากาศ ต้องการจะปรับเปลี่ยนเพิ่มความมิดชิดให้กับรั้วบ้านมากยิ่งขึ้น การผสมการติดตั้งคานคอนกรีตแบบทึบเข้าไปในแนวรั้วคาวบอย ก็สามารถทำได้ เป็นรั้วชนิดหนึ่งที่ถือว่าสามารถที่จะผสมผสานให้เข้ากับวัสดุรั้วในประเภทอื่้นๆ ได้อย่างสะดวก ทำให้ท่านจะมีรั้วบ้านในหลากหลายรูปแบบ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามงบประมาณที่สะดวกหากใช้งานรั้วคาวบอยนั่นเอง

 

ส่วนประกอบของรั้วคาวบอย

สำหรับอีกปัจจัยที่สะท้อนให้เห็นถึงความเหมาะสม กับการใช้งานกับบ้านพักตากอากาศของหลายๆ ท่าน สำหรับการเลือกประเภทของรั้วที่จะใช้กับบ้านสวย ท่ามกลางธรรมชาติของทุกท่าน ให้เป็นรั้วคาวบอยแบบยกชุดทั้งหมด ก็คือปัจจัยที่มาจากส่วนประกอบของรั้วคาวบอยทั้งหมด ซึ่งรวมๆ แล้วสามารถจำแนกได้ ทั้งหมดดังต่อไปนี้

  1. เสารั้วคาวบอย, เสาคอนกรีตอัดแรง

เป็นเสาคอนกรีตที่ผลิตในขั้นตอนกระบวนการคอนกรีตอัดแรง พร้อมกับใส่เหล็กเสริมเข้าไปในเนื้อคอนกรีต ในกระบวนการของแบบหล่อที่ได้มาตรฐาน ทั้งสัดส่วนขนาดของเสารั้ว และยังรวมไปถึงความเข้มข้นของคอนกรีตที่ใช้ในการผลิต พร้อมทั้งการทำช่องว่างสี่เหลี่ยมในระหว่างจุดต่างๆ ของเสา เพื่อให้สามารถสอดรับกับคานของรั้วคาวบอยได้

  1. คานรั้วคาวบอย, คานคอนกรีตอัดแรง

คานคอนกรีตอัดแรง จะเป็นชิ้นงานคอนกรีตที่ผลิตภายใต้กระบวนการเดียวกันกับเสารั้วอัดแรง ทำให้ความทนทาน และมาตรฐานของความแข็งแรงของส่วนประกอบชิ้นนี้ จะมีความเท่าเทียมกันทั้งเสาและคานคอนกรีต โดยการเลือกจำนวนของคานคอนกรีต ก็จะขึ้นอยู่กับว่าท่านจะดีไซน์ ให้รั้วคาวบอยมีคานทั้งหมดกี่ชั้น ซึ่งก็จะสัมพันธ์กับความสูงของแนวรั้ว มีระดับคานตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 4 ชั้น เป็นต้น

 

บทสรุปตอนท้าย

พื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการใช้งานรั้วคาวบอย น่าจะเป็นบ้านตากอากาศที่มีปัจจัยแวดล้อมตัวบ้านที่เป็นไปดังที่กล่าวไว้ตอนต้นทั้งหมด แต่แน่นอนว่า ก็ไม่เชิงว่าเป็นแบบแผ่นตายตัวสำหรับการใช้งานรั้วชนิดนี้ เพราะปัจจุบันมีการใช้งานรั้วคาวบอยกับบ้านพักอาศัยในเขตชุมชนเมือง อีกมากมายแพร่หลายด้วยเช่นกันนั่นเอง ถือว่าเป็นรั้วที่เหมาะสมกับสิ่งปลูกสร้างหลากหลายแบบ ครอบคลุมบ้านพักอาศัยทุกสไตล์เลยก็ว่าได้

 

บทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้อง

รั้วคาวบอย 3 คาน มาตรฐานใหม่ที่ใช้ได้ทุกพื้นที่

กำแพงกันดิน สำคัญกับการก่อสร้าง ป้องกันดินสไลด์

กำแพงกันดิน สำคัญกับการก่อสร้าง ป้องกันดินสไลด์

เดิมทีการสร้างบ้านต้องมีส่วนประกอบของกำแพงบ้าน เป็นหนึ่งในภาระหน้าที่ของงานออกแบบ หรือผู้ที่ดูแลในเรื่องของการก่อสร้างบ้านนั้นจะต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน แต่จริงๆ แล้วเมื่อเวลาผ่านมามากกว่าสิบปี ตัวแปรสำหรับการออกแบบ หรือวางแผนในการสร้างบ้าน จะไม่ได้มีเพียงตัวบ้านและกำแพงบ้านกันต่ออีกต่อไปแล้ว เพราะมีอีกหนึ่งตัวแปรก็คือ กำแพงกันดิน ที่ถือว่าเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน เพราะความเปลี่ยนแปลงของลักษณะของการเตรียมงานก่อสร้าง สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เหล่านั้น ได้เพิ่มความน่าจะเป็น ที่จะต้องทำให้กำแพงกันดิน มีความจำเป็นต่องานก่อสร้างมากยิ่งขึ้น

 

 

การถมดินเป็นตัวแปรที่ทำให้ต้องสร้างกำแพงกันดิน

แรงดันของดินที่เคลื่อนที่ตามธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงของโลก ถือว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ที่จะต้องทำภายหลังจากการถมดิน ซึ่งการเคลื่อนที่หรือการสไลด์ของชั้นดิน ถือว่าเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในทันที ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม แรงสั่นสะเทือนจากรถขนส่งวัสดุก่อสร้าง เพื่อเข้าไปใช้งานในการสร้างสิ่งปลูกสร้างภายในที่ดิน และยังรวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ทั้งฝนตกหนัก หรือลมแรง ก็เป็นตัวแปรของการเกิดดินสไลด์ด้วยเช่นกัน

 

เพราะถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นการถมดินที่สูงจากระดับดินเดิม ในบริเวณรอบๆ มากกว่า 60 หรือ 80 ซม.ขึ้นไปนั้น การที่ต้องคำนึงถึงเรื่อง ของการสไลด์ของดิน เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขด้วยกำแพงกันดิน ในทันทีด้วยเช่นกัน ดังนั้นตัวแปรเหล่านี้ จึงเป็นเหมือนกับเหตุผลประกอบการตัดสินใจ ที่เจ้าของโครงการ ต้องทำการศึกษาร่วมกับวิศวกรผู้ออกแบบงานก่อสร้าง ให้มั่นใจก่อนว่า จะมีปัญหาดินสไลด์หรือไม่ แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ถือว่า ถ้าอยู่ในระดับดินที่มีความสูงตามที่กล่าวไว้ตอนต้น ถือว่าต้องใช้เพื่อความปลอดภัย เป็นการใช้งบประมาณเพื่อ ไม่ให้เกิดการบานปลายในภายหลังก็ว่าได้

 

 

ความต่างของกำแพงกันดินกับกำแพงบ้าน

จริงๆ แล้วลักษณะ ของอุปกรณ์การใช้งาน หรือส่วนประกอบต่างๆ ของกำแพงกันดิน ที่มาในแบบสำเร็จรูปในยุคใหม่ๆ ที่วงการก่อสร้างจะทราบกันดีนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะ ของการใช้งาน ที่คล้ายกับกำแพงบ้าน แต่ในด้านข้อมูลสเปคเชิงลึก ของกำแพงกันดินนั้น ถือว่ามีบางส่วนที่แตกต่างกันพอสมควร เพราะเบื้องต้นการผลิตกำแพงกันดิน ต้องมีการคำนึงถึง ความแข็งแรงและฟังก์ชันการใช้งาน ที่ต้องต้านทานแรงดินให้ได้มากที่สุด

 

แตกต่างจากกำแพงบ้านที่ ต้องคำนึงถึงความสวยงาม เป็นตัวแปรองค์ประกอบ ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตด้วยเช่นกัน ยิ่งทุกวันนี้กำแพงบ้านสำเร็จรูป กับกำแพงกันดินสำเร็จรูป มีบางจุดที่อาจจะมองผิวเผิน มีความคล้ายกันมากพอสมควร แต่จริงๆ เพียงแค่ลักษณะของแผ่นคอนกรีต ที่ใช้สำหรับการกั้นมวลดินของกำแพงสำหรับป้องกันดินสไลด์นั้น ก็มีเรื่องของความแข็งแรงและขั้นตอนของการผลิต ที่ถือว่ามีหลายจุดที่แม้ว่า จะเป็นการผลิตแบบคอนกรีตอัดแรงเหมือนกับ มีการใช้ลวดเสริมแรงเหมือนกับ แต่การเจาะจง ให้เกิดความแข็งแรง ในแต่ละส่วนประกอบ จะมีข้อแตกต่างกันอย่างแน่นอน

 

 

บทสรุปตอนท้าย

ในปัจจุบันการสร้างบ้าน ที่มีความสูงที่มีการเพิ่มเติมขึ้น ด้วยความจำเป็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม รอบๆ บริเวณของการสร้างบ้าน นับว่าเป็นปัจจัยที่จำเป็น ที่กำแพงกันดินนั้น เป็นสิ่งที่ต้องมีการติดตั้งก่อนที่จะ เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการก่อสร้างอื่นๆ ซึ่งก็ถือว่าเป็นหนึ่งในการตัดสินใจ ที่ถือว่าจำเป็นและจะเป็นการตัดปัญหา ดินสไลด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกัน

 

 

บทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้อง

เหตุผลว่าทำไมต้องติดตั้งชุดกำแพงกันดิน