คําพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับกรณีที่ดินชายตลิ่งที่ถูกน้ำเซาะพัง
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๕๓ – ๓๖๐/๒๕๐๗ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ นั้น การที่จะตีความว่า ถ้าที่ใดเป็นที่ชายตลิ่งแล้วย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เสมอไปนั้น
ย่อมไม่ถูกต้อง เพราะจะต้องมีสภาพเป็นทรัพย์สินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันด้วย
จําเลยปลูกอาคารลงในที่ดินของจําเลยแม้ภายใต้อาคารนั้นถูกน้ำเซาะพังลงกลายสภาพเป็น ที่ชายตลิ่ง แต่จําเลยก็ยังใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของ คงครอบครองอาคารและที่ดินนั้นอยู่ มิได้ทอดทิ้ง ปล่อยให้เป็นที่ชายตลิ่งสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้ว ที่พิพาทนั้นยังหาเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่
ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์
หมวดหมู่
- การศึกษา (236)
- ข่าวสารเว็บไซต์ (309)
- ข่าวโปรโมชั่น (223)
- คลิปวีดีโอเด็ดๆ (11)
- ทั่วไป อื่นๆ (852)
- ที่พัก (48)
- บริการรับจ้างทั่วไป (73)
- บันเทิง ดารา ภาพยนตร์ (13)
- สุขภาพ (122)
- ออนไลน์น่ารู้ (376)
- เดินทางท่องเที่ยว (75)
- เตือนภัยมิจฉาชีพออนไลน์ (29)
- แนะนำสินค้าและบริการ (449)
บทความล่าสุด
- บริษัทบริหารนิติบุคคล มีผลต่อมูลค่าโครงการอสังหาริมทรัพย์อย่างไร? May 29, 2025
- ฉีดฟิลเลอร์อย่างไรให้ปลอดภัยและสวยปัง พร้อมแนะนำทางเลือกธุรกิจจากโรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง May 28, 2025
- GMP คืออะไร ? ทำไมธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มต้องมี? May 28, 2025
- คําพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับกรณีที่ดินชายตลิ่งที่ถูกน้ำเซาะพังคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2546จำเลยปลูกบ้านในที่ดินพิพาทที่เช่าจากโจทก์ ต่อมาที่ดินพิพาทใต้อาคารบ้านที่จำเลยปลูกสร้างถูกน้ำกัดเซาะเป็นเหตุให้ตลิ่งพังทลายลงสู่แม่น้ำ ที่ดินพิพาทกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งโดยที่จำเลยยังคงทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ตลอดมาซึ่งโจทก์ก็ยังคงสงวนสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เป็นค่าเช่าที่ดินพิพาทอยู่ มิได้ปล่อยทิ้งให้เป็นที่ชายตลิ่งที่ประชาชนทั่วไปจะเข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทสิ้นสุดลงและล่วงเลยเวลาที่โจทก์ผ่อนผันให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์อีกต่อไป โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ May 25, 2025
- คําพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับกรณีที่ดินชายตลิ่งที่ถูกน้ำเซาะพังคําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๕๓ – ๓๖๐/๒๕๐๗ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ นั้น การที่จะตีความว่า ถ้าที่ใดเป็นที่ชายตลิ่งแล้วย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เสมอไปนั้น ย่อมไม่ถูกต้อง เพราะจะต้องมีสภาพเป็นทรัพย์สินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันด้วย จําเลยปลูกอาคารลงในที่ดินของจําเลยแม้ภายใต้อาคารนั้นถูกน้ำเซาะพังลงกลายสภาพเป็น ที่ชายตลิ่ง แต่จําเลยก็ยังใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของ คงครอบครองอาคารและที่ดินนั้นอยู่ มิได้ทอดทิ้ง ปล่อยให้เป็นที่ชายตลิ่งสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้ว ที่พิพาทนั้นยังหาเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ May 25, 2025
- คําพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับกรณีที่ดินชายตลิ่งที่ถูกน้ำเซาะพังคําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๐๙๓/๒๕๒๓ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทยังเป็นของโจทก์กับพวกอยู่ แม้น้ำจะเซาะที่ดินโจทก์กับพวกตรงที่พิพาทจนกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งไปแล้วก็ตาม แต่โจทก์กับพวกก็ยังใช้สิทธิเป็นเจ้าของโดยใช้เป็นทางเข้าออกอยู่ มิได้ทอดทิ้งให้เป็นที่สําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ที่พิพาท จึงไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ May 25, 2025
- คําพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับกรณีที่ดินชายตลิ่งที่ถูกน้ําเซาะพังคําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๑๕/๒๔๗๕ที่ดินที่ ถูกทางน้ําเซาะดินพัง แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นลําคลองสาธารณะ เจ้าของที่ดินยังมีกรรมสิทธิ์อยู่ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ May 25, 2025
- ผู้ที่มีชื่อในทะเบียนที่ดินได้รับข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามกฎหมายดีกว่าคำพิพากษาฎีกาที่ 4679/2559 ที่ดินตามสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โจทก์ซื้อมาเมื่อปี 2535 ตามสารบัญจดทะเบียนในเอกสารดังกล่าวอันเป็นทะเบียนที่ดิน โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนั้นทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ May 25, 2025
- ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์คำพิพากษาฎีกาที่ 809 / 2545 โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ผู้ตายให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้แม้โจทก์ฟ้องคดีหลังจาก ท. ถึงแก่ความตายไปเกิน 1 ปี คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสามแล้ว แต่บทบัญญัติดังกล่าวยกเว้นมิให้ใช้บังคับในกรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 แม้คดีขาดอายุความแล้ว ก็ยังยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือแก่ ร. ทนายโจทก์ให้บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อ ร. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 และถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้วท. ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 ส่วนจำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ตายจะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี May 25, 2025
- การนำเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่น ว่าการกระทำความผิดอาญาศาลยกฟ้อง การกระทำนี้จะถือว่าเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จหรือไม่คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6430/2560การที่จำเลยกับ อ. เข้าไปเก็บผลผลิตปาล์มน้ำมันไปขายได้เงิน 713,733 บาท จริง ซึ่งรายได้ดังกล่าวเป็นดอกผลของทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ต้องแบ่งแก่ทายาททุกคนเท่าๆกัน แต่จำเลยกลับแบ่งให้โจทก์และ จ. ไม่เท่ากัน ส่วนที่เหลือจำเลยกับ อ. ได้ไปเกินกว่าส่วนแบ่งที่ตนควรจะได้รับ เมื่อฝ่ายโจทก์ทวงถาม ฝ่ายจำเลยกลับท้าให้โจทก์ฟ้อง พฤติการณ์ของจำเลยกับพวกย่อมทำให้โจทก์เข้าใจได้ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันเบียดบังเอาเงินผลผลิตปาล์มน้ำมันไปเป็นของตนโดยทุจริต ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันยักยอกเงินผลผลิตปาล์มน้ำมันตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ 3573/2555 ของศาลชั้นต้น จึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลกล่าวหาจำเลยไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น หาใช่โจทก์เอาความอันเป็นเท็จฟ้องจำเลยการที่จำเลยมาฟ้องโจทก์หาว่าโจทก์เอาความอันเป็นเท็จฟ้องจำเลย ตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ 3893/2555 ของศาลชั้นต้น ทั้งที่รู้แล้วว่าเรื่องที่จำเลยนำมาฟ้องโจทก์เป็นความเท็จ จึงเป็นฟ้องเท็จตาม ป.อ. มาตรา 175 เมื่อจำเลยฟ้องเท็จแล้ว แม้ศาลจะยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จตามบทบัญญัติดังกล่าวอ้างอิง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 175 ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาททนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ May 25, 2025