คำคม ความไม่แน่นอน

คำคม ความไม่แน่นอน

ความไม่แน่นอน อาจจะเป็นความเสี่ยงแต่มันจะเปิดโอกาสให้เราได้พบสิ่งใหม่ ทำให้เราเติบโตและค้นพบตัวเองมากขึ้น จงกล้า จงมั่นใจในตนเอง จงใช้พลังผลักดันตัวเราเอง เพื่อก้าวผ่านเส้นทางเดิมๆ เพื่อนำพาตัวเองไปสู่เส้นทางใหม่ๆ แล้วเราจะพบว่า “ ตัวเราเองเข้มแข็งและแข็งแกร่งมากขึ้น”ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์#วิทยากรสอนสนุก #คำคม #คำคมสร้างแรงบันดาลใจ #นักพูดสร้างแรงบันดาลใจ #คำคมสร้างกำลังใจ #คำคมสอนใจwww.drsuthichai.com

#image_title

ทักษะของผู้บริหาร

ทักษะของผู้บริหาร

IQ EQ AQ MQและSQ สำหรับนักบริหาร
โดย…สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com

IQ EQ AQ MQและSQ ตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษเหล่านี้ มักมีผู้สนใจ อีกทั้งต้องการที่จะทราบความหมายว่าหมายความว่าอย่างไร และสำหรับผู้ที่เป็นนักบริหาร ตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ควรจะศึกษาและทำความเข้าใจ
IQ ย่อมาจาก Intelligenec Quotient หมายถึง ความฉลาดความสามารถทางเชาว์ปัญญา ซึ่งถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่คอยส่งเสริม เชาว์ปัญญาเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ แต่สามารถแสดงออกโดยผ่านพฤติกรรมต่างๆของบุคคล
สำหรับการวัดไอคิว เราสามารถวัดได้จากแบบทดสอบหรือเครื่องมือที่นักวิทยาศาสตร์คิดค้นโดยมีการแบ่งออกเป็นทักษะต่างๆคือ
ทักษะด้านคณิตศาสตร์ , ทักษะด้านการคิด , ทักษะด้านความจำ , ทักษะด้านการใช้ภาษา , ทักษะด้านความเร็วในการคำนวณต่าง เป็นต้น
ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อสมองหรือการพัฒนาไอคิว เช่น การขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายและสมอง , ความเครียด ความกดดัน ขาดการออกกำลังกาย ขาดการพักผ่อน , ขาดการฝึกฝนการใช้ความคิด , การมองตนเองในด้านลบ , การใช้สารยาเสพติดต่างๆ , การเลี้ยงดู การอบรม ภายในครอบครัว เป็นต้น
นักบริหารที่มีไอคิวที่สูง มักได้เปรียบนักบริหารที่มีไอคิวที่ต่ำ เพราะนักบริหารที่มีไอคิวที่สูง มักคิดได้ไวกว่า , ตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆได้ดีกว่า , เรียนรู้งานหรือสิ่งต่างๆได้เร็วกว่า เป็นต้น
EQ ย่อมาจาก Emotional Quotient หมายถึง เชาว์อารมณ์ หรือความฉลาดทางอารมณ์ คือ การรู้จัก เรียนรู้ ความรู้สึก อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น อีกทั้งสามารถบริหารจัดการกับอารมณ์ต่างๆได้ มีงานวิจัยออกมาหลายชิ้นพบว่า บางคนมี IQ ที่สูง มีความฉลาดทางสติปัญญา แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต ก็เนื่องมาจากการขาด EQ เช่น นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกหลายๆคน มีความฉลาดทางปัญญาระดับอัจฉริยะ แต่ครอบครัวแตกแยก ภรรยาขอเลิก หรือ ทำงานร่วมกันคนอื่นๆไม่ได้ เป็นต้น
ดังนั้นการเป็นนักบริหารที่ประสบความสำเร็จควรมีทักษะด้าน EQ ให้มาก เนื่องจากการทำงานภายในองค์กรมักจะต้องทำงานร่วมกันกับคน นักบริหารที่สามารถปรับอารมณ์ของตนเองและเรียนรู้อารมณ์ของผู้อื่นมักจะประสบความสำเร็จในการทำงานต่างๆได้เป็นอย่างดี
AQ ย่อมาจาก Adversity Quotient หมายถึง ความสามารถในการฝันฝ่าอุปสรรคปัญหาต่างๆ ทั้งต้องมีความอดทน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ร่างกาย จิตใจ เพื่อที่จะบรรลุถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้ ตัวอย่างเช่นนักไต่เขา 3 คน
คนที่ 1 เมื่อเห็นภูเขาสูงๆ แล้ว ปฏิเสธไม่อยากที่จะปีนเพราะกลัวเหนื่อย ทั้งๆที่ตนเองก็สามารถปีนขึ้นได้ เราเรียกนักไต่เขาคนนี้ว่า “ Quitters” หรือ ผู้ที่ไม่ยอมเดินทางหรือหยุดเดินทางเมื่อเจอปัญหาอุปสรรค มีลักษณะของการหลบเลี่ยง
คนที่ 2 เมื่อปีนเขาไปได้สักครึ่งทาง บ่นว่าเหนื่อยแล้วหยุดพัก ตั้งเต้นท์แล้วไม่ยอมปีนต่อ สำหรับลักษณะของคนที่ 2 เมื่ออยู่ภายในองค์กรมักไม่ชอบทำตนให้เด่นเกินหน้าใคร เราเรียกนักไต่เขาคนนี้ว่า “ Campers” หรือ ผู้หยุดพักพิงเมื่อได้ที่เหมาะ
คนที่ 3 จะพยายามปีนให้ไปถึงจุดสูงสุดบนยอดเขา เป็นนักปีนเขาที่อุทิศตนไม่หยุดยั้ง ชอบความท้าทาย มีแรงจูงใจ มีวินัย เมื่อปีนถึงจุดสูงสุดบนยอดเขา มักจะพูดกับตัวเองและผู้คนรอบข้างว่า “ มีเขาลูกไหนที่สูงกว่านี้ให้ปีนอีกไหม” เราเรียกนักไต่เขาคนนี้ว่า “ Climbers” หรือ ผู้ที่รุกไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง
เมื่อท่านเป็นนักบริหาร ท่านลองสำรวจตัวท่านเองหรือลูกน้องของท่าน ว่าตัวท่านเองหรือลูกน้องมีลักษณะเหมือนนักปีนเขาคนใด เพราะถ้าหากท่านเหมือนกับนักปีนเขาคนที่ 1 และคนที่ 2 ท่านมีโอกาสเป็นผู้แพ้มากกว่าผู้ที่ชนะ แต่ถ้าหากท่านหรือลูกน้องของท่านมีลักษณะเหมือนนักปีนเขาคนที่ 3 ท่านและลูกน้องคนนั้นๆ มีโอกาสในการเป็นผู้ชนะ มากกว่าผู้พ่ายแพ้
MQ ย่อมาจากคำว่า “Moral Oral Quotient” หมายถึง ความฉลาดทางจริยธรรม ศีลธรรม หากว่าผู้ใดที่มี MQ สูง คนๆนั้นก็จะมีลักษณะที่รู้จักให้อภัย ลดความเห็นแก่ตัว มีความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งสังคมไทยเรามีปัญหามาก ในเรื่องของ MQ จึงเกิดการทุจริต คอรัปชั่น ในองค์กร หน่วยงานต่างๆ มากมายขึ้นในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นวงการการเมือง วงการข้าราชการระดับสูง วงการธุรกิจต่างๆ เป็นต้น
การจะปลูกฝังเรื่องของ MQ เป็นเรื่องยากเพราะต้องปลุกฝังตั้งแต่เด็ก โดยการสอน การอบรม อีกทั้งผู้ใหญ่ควรประพฤติปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย
MQ สำหรับนักบริหาร ถ้าหากว่านักบริหารท่านใดมี MQ สูง มักจะได้รับการยกย่อง ความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ มากกว่านักบริหารที่มี MQ ต่ำ
SQ ย่อมาจากคำว่า Social Quotient หมายถึง ความฉลาดทางสังคม เป็นความสามารถในการปรับตัวในการเข้าสังคมได้ดี เป็นบุคคลที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีทักษะในการพูดจา ยิ้มแย้มแจ่มใส มีบุคลิกภาพที่ดี
ดังนั้นการเป็นนักบริหารที่ประสบความสำเร็จควรมีทักษะด้าน SQ เนื่องจากการทำงานบริหารเรามีความจำเป็นจะต้องมีการบริหารคน ใช้คนทำงานแทนเรา อีกทั้งต้องมีการพบปะผู้คนที่มากมายเพื่อการสร้างโอกาสในด้านธุรกิจอีกด้วย ดังคำกล่าวของสุภาษิตจีนที่กล่าวไว้ว่า “ นกไม่มีขน คนไม่มีเพื่อน ขึ้นสู่ที่สูงได้ยาก ”
โดยสรุป IQ EQ AQ MQ และ SQ กระผมเชื่อว่าพวกเราทุกๆคนมี แต่มีความแตกต่างกันหรือมีไม่เท่ากัน ซึ่งในความคิดเห็นส่วนตัวของกระผม นักบริหารที่ประสบความสำเร็จ ควรจะต้องมี IQ EQ AQ MQ และ SQ ที่มีสัดส่วนที่มีความสมดุลกัน ไม่มีตัวไหนที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป การเดินทางสายกลางจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมดังคำสอนของพระพุทธเจ้าในทางพุทธศาสนา คือ ไม่ตึงจนเกินไป หรือ ไม่หย่อนจนเกินไป

#image_title

จงตั้งเป้าหมาย

จงตั้งเป้าหมาย

จงตั้งเป้าหมายแล้ว จงเชื่อมั่นในตัวเอง จงเริ่มต้นที่จะก้าวเดินก้าวแรก
จงก้าวเดินต่อไป อย่าได้หยุดเดิน แล้วท่านจะพบกับความสำเร็จ
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
#วิทยากรสอนสนุก #คำคม #คำคมสร้างแรงบันดาลใจ #นักพูดสร้างแรงบันดาลใจ #คำคมสร้างกำลังใจ #คำคมสอนใจ
www.drsuthichai.com

#image_title

เป้าหมาย

เป้าหมาย

เป้าหมายต้องชัดเจนเพราะเป้าหมายเปรียบเสมือนเข็มทิศหากเป้าหมายไม่ชัดเจน คุณอาจเดินหลงทางเป้าหมายที่ใหญ่และอยู่ไกล คุณอาจเริ่มต้นก้าวเดินจากก้าวเล็กๆ เพราะการก้าวเดินจากก้าวเล็กๆจะนำพาคุณไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่และอยู่ไกลได้ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์#วิทยากรสอนสนุก #คำคม #คำคมสร้างแรงบันดาลใจ #นักพูดสร้างแรงบันดาลใจ #คำคมสร้างกำลังใจ #คำคมสอนใจwww.drsuthichai.com

#image_title

การพัฒนาตนเองด้วยหลัก PDCA

การพัฒนาตนเองด้วยหลัก PDCA

พัฒนาตนเองด้วยมิติ “ การจัดการ PDCA”
โดย…สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com

คนเราเกิดมาอาจไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของชาติกำเนิด แต่คนเราทุกๆคนสามารถเลือกที่จะพัฒนาตนเองได้
คนเราจะมีความก้าวหน้าในชีวิต ก้าวหน้าในที่ทำงาน คนๆนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาตนเอง เพราะการพัฒนาตนเองจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างที่นิสัยที่ดีไปทดแทนนิสัยที่ไม่ดีของตนเอง เช่น การสร้างนิสัยที่มีความขยันขันแข็งไปทดแทนนิสัยที่ขี้เกียจ , การสร้างนิสัยความเป็นผู้ดีไปทดแทนนิสัยที่ต่ำทรามของตน , การสร้างนิสัยความเสมอต้นเสมอปลายไปทดแทนนิสัยที่จับจดโลเล เป็นต้น
ในบทความฉบับนี้ กระผมขอพูดเรื่อง “ พัฒนาตนเองด้วยมิติ การจัดการ PDCA ”
สำหรับหลักความคิด PDCA เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นซึ่งแพ้สงครามในขณะนั้นเกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ซึ่งประเทศที่ให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่น คือประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส่งคนเข้าไปช่วยเหลือให้คำแนะนำปรึกษาซึ่งบุคคลดังกล่าวคือ DR.Deming ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องคุณภาพ ซึ่ง Dr.Deming ได้คิดค้น วงจรการบริหารงานแบบ PDCA ซึ่งเป็นการบริหารแบบเรียบง่ายโดยการควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าที่มีมากอย่างประสิทธิภาพ ซึ่งหลัก PDCA มีดังนี้
P (Planning) การวางแผน เป็นกิจกรรมลำดับแรก ที่ต้องกำหนดเพื่อไปสู่เป้าหมาย ตัวอย่างเช่น หากว่าเราต้องการพัฒนาตนเองในด้านความขยันขันแข็ง เราจำเป็นจะต้องวางแผนการใช้เวลาในชีวิตของเราเพื่อให้ทุกนาทีเกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น วางแผนการทำงานในแต่ละวัน แบ่งเวลาสำหรับการพักผ่อน ออกกำลังกาย เวลาสำหรับครอบครัว เป็นต้น
การวางแผนจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกๆ ในการทำงานต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่การพัฒนาตนเอง ดังนั้นหากท่านต้องการพัฒนาตนเอง หากท่านต้องการเปลี่ยนแปลงตนเอง จงเริ่มสำรวจตัวเองว่า สิ่งไหนที่ท่านต้องการพัฒนาตนเองเป็นอันดับแรกๆ แล้วเริ่มวางแผนการเป็นรายวัน รายเดือน รายปี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเอง
D (Do) การลงมือทำ การปฏิบัติตามแผน เมื่อมีการวางแผนงานแล้ว แต่ขาดซึ่งการลงมือทำ แผนที่วางเอาไว้ก็นิ่งสนิท ดังนั้น การลงมือทำจึงเป็นสิ่งที่ทำให้แผนการที่วางเอาไว้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมา คนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาตนเอง จะไม่ปล่อยให้เวลาเสียไปเปล่าๆ เขาจะไม่เป็นคนที่รอคอยโชคชะตา แต่เขาจะเป็นคนกำหนดโชคชะตาของตนเอง ด้วยการลงมือ “ ทำทันที หรือ ททท.” โดยไม่ผัดวันประกันพรุ่ง เพราะคนที่ประสบความสำเร็จทุกคน ไม่ใช่เป็นแต่คนที่มีความคิดดีๆ แต่ไม่ยอมลงมือกระทำ แต่เขาจะตัดสินใจทำทันที เพราะการลงมือกระทำ เป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ
C (Check) ตรวจสอบและประเมินตนเอง เมื่อเราลงมือกระทำตามแผนการที่วางเอาไว้ เมื่อเวลาผ่านไป เราต้องมีการตรวจสอบและประเมินตนเอง ตามแผนที่วางไว้ ว่าสิ่งที่เราทำนั้น ได้กระทำตามแผนหรือไม่ หรือ มีสิ่งใดที่เราไม่ได้ทำ
A (Action) การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา เมื่อมีการตรวจสอบและประเมินตนเองแล้ว เราควรหาวิธีการในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา สิ่งที่เราได้ทำเอาไว้ โดยการนำเอา C (Check) มาตรวจสอบปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
ดังนั้น หากต้องการพัฒนาตนเองด้วยมิติ “ การจัดการ” PDCA เราคงต้องมีการกระทำอย่างจริงจัง และควรทำในลักษณะเป็นวงจรกล่าวคือ PDCA แล้วไปยัง PDCA แล้วไปยัง PDCA อีกหลายรอบ ควรทำเป็นวงจรซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ควรทำแค่รอบเดียว และหลักการ PDCA ยังนำไปใช้ได้ในเรื่องของ การบริหารต่างๆ อีกด้วย เช่น การบริหารงานผลิต , การบริหารงานเขียน , งานบริหารงานบุคคลและการบริหารและพัฒนาตนเองอีกด้วย
หากว่าคุณมีความปรารถนาจะสร้างความสำเร็จ การพัฒนาตนเองด้วยมิติ “ การจัดการ PDCA ” ช่วยท่านได้

#image_title

พัฒนาตนเองด้วยมิติ “ การจัดการ PDCA”

โดย…สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

 

คนเราเกิดมาอาจไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของชาติกำเนิด แต่คนเราทุกๆคนสามารถเลือกที่จะพัฒนาตนเองได้

คนเราจะมีความก้าวหน้าในชีวิต ก้าวหน้าในที่ทำงาน คนๆนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาตนเอง เพราะการพัฒนาตนเองจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างที่นิสัยที่ดีไปทดแทนนิสัยที่ไม่ดีของตนเอง เช่น การสร้างนิสัยที่มีความขยันขันแข็งไปทดแทนนิสัยที่ขี้เกียจ , การสร้างนิสัยความเป็นผู้ดีไปทดแทนนิสัยที่ต่ำทรามของตน , การสร้างนิสัยความเสมอต้นเสมอปลายไปทดแทนนิสัยที่จับจดโลเล เป็นต้น

ในบทความฉบับนี้ กระผมขอพูดเรื่อง “ พัฒนาตนเองด้วยมิติ การจัดการ PDCA ”

สำหรับหลักความคิด PDCA เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นซึ่งแพ้สงครามในขณะนั้นเกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ซึ่งประเทศที่ให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่น คือประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส่งคนเข้าไปช่วยเหลือให้คำแนะนำปรึกษาซึ่งบุคคลดังกล่าวคือ DR.Deming ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องคุณภาพ  ซึ่ง Dr.Deming ได้คิดค้น วงจรการบริหารงานแบบ PDCA  ซึ่งเป็นการบริหารแบบเรียบง่ายโดยการควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าที่มีมากอย่างประสิทธิภาพ ซึ่งหลัก PDCA  มีดังนี้

P (Planning) การวางแผน เป็นกิจกรรมลำดับแรก ที่ต้องกำหนดเพื่อไปสู่เป้าหมาย ตัวอย่างเช่น หากว่าเราต้องการพัฒนาตนเองในด้านความขยันขันแข็ง เราจำเป็นจะต้องวางแผนการใช้เวลาในชีวิตของเราเพื่อให้ทุกนาทีเกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น วางแผนการทำงานในแต่ละวัน แบ่งเวลาสำหรับการพักผ่อน ออกกำลังกาย เวลาสำหรับครอบครัว เป็นต้น

การวางแผนจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกๆ ในการทำงานต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่การพัฒนาตนเอง ดังนั้นหากท่านต้องการพัฒนาตนเอง หากท่านต้องการเปลี่ยนแปลงตนเอง จงเริ่มสำรวจตัวเองว่า สิ่งไหนที่ท่านต้องการพัฒนาตนเองเป็นอันดับแรกๆ แล้วเริ่มวางแผนการเป็นรายวัน รายเดือน รายปี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเอง

D (Do)  การลงมือทำ การปฏิบัติตามแผน  เมื่อมีการวางแผนงานแล้ว แต่ขาดซึ่งการลงมือทำ แผนที่วางเอาไว้ก็นิ่งสนิท ดังนั้น การลงมือทำจึงเป็นสิ่งที่ทำให้แผนการที่วางเอาไว้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมา คนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาตนเอง จะไม่ปล่อยให้เวลาเสียไปเปล่าๆ เขาจะไม่เป็นคนที่รอคอยโชคชะตา แต่เขาจะเป็นคนกำหนดโชคชะตาของตนเอง ด้วยการลงมือ “ ทำทันที หรือ ททท.” โดยไม่ผัดวันประกันพรุ่ง เพราะคนที่ประสบความสำเร็จทุกคน ไม่ใช่เป็นแต่คนที่มีความคิดดีๆ แต่ไม่ยอมลงมือกระทำ แต่เขาจะตัดสินใจทำทันที เพราะการลงมือกระทำ เป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ

C  (Check) ตรวจสอบและประเมินตนเอง  เมื่อเราลงมือกระทำตามแผนการที่วางเอาไว้ เมื่อเวลาผ่านไป เราต้องมีการตรวจสอบและประเมินตนเอง ตามแผนที่วางไว้ ว่าสิ่งที่เราทำนั้น ได้กระทำตามแผนหรือไม่ หรือ มีสิ่งใดที่เราไม่ได้ทำ

A (Action) การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา เมื่อมีการตรวจสอบและประเมินตนเองแล้ว เราควรหาวิธีการในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา สิ่งที่เราได้ทำเอาไว้ โดยการนำเอา C  (Check) มาตรวจสอบปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

ดังนั้น หากต้องการพัฒนาตนเองด้วยมิติ “ การจัดการ” PDCA  เราคงต้องมีการกระทำอย่างจริงจัง และควรทำในลักษณะเป็นวงจรกล่าวคือ PDCA แล้วไปยัง PDCA แล้วไปยัง PDCA อีกหลายรอบ ควรทำเป็นวงจรซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ควรทำแค่รอบเดียว และหลักการ PDCA  ยังนำไปใช้ได้ในเรื่องของ การบริหารต่างๆ อีกด้วย เช่น การบริหารงานผลิต , การบริหารงานเขียน , งานบริหารงานบุคคลและการบริหารและพัฒนาตนเองอีกด้วย

หากว่าคุณมีความปรารถนาจะสร้างความสำเร็จ  การพัฒนาตนเองด้วยมิติ “ การจัดการ PDCA ช่วยท่านได้

#image_title