by drsuthichai | Oct 21, 2024 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
สู่ความสำเร็จ…ด้วยความสม่ำเสมอ มากพอ นานพอ
โดย…สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ บุคคลที่โลกยกย่องให้เป็นอัจฉริยะว่า คนที่ประสบความสำเร็จเขามีสูตรอย่างไรในการทำงาน อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ให้ข้อแนะนำมา 3 ข้อ สั้นๆคือ “ สม่ำเสมอ มากพอ นานพอ” ซึ่งกระผมขอขยายความดังนี้
สม่ำเสมอ คือ บุคคลที่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าอาชีพอะไร เขาจะทำงานด้วยความสม่ำเสมอ ไม่หยุดยั้ง แม้ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้อง แดดจะร้อนสักเพียงใด เขาจะไม่หยุดทำงาน แต่ในทางตรงกันข้าม เขาจะทุ่มเทเวลาทั้งหมดไปกับการทำงาน คนที่มีความสม่ำเสมอ มักถือว่าเป็นบุคคลที่มีความขยันขันแข็ง เขาจะทำงานจนวันสุดท้ายและท้ายสุดของชีวิตเลยทีเดียว
มากพอ คือ เขาจะมีการตั้งเป้าหมายในการทำงาน เช่น งานเขียนหากตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเขียนให้ได้เพียงวันละ 1 หน้า กับอีกคนตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเขียนให้ได้วันละ 5 หน้า เวลาผ่านไป 1 เดือน สรุปคนแรกเขียนได้ 30 หน้า กับอีกคนเขียนได้ 120 หน้า ท่านคิดว่า ใครจะมีโอกาสเป็นนักเขียนที่เก่งกว่ากันครับ แน่นอนครับคนที่สอง เพราะเขาทำสิ่งนั้น “มากพอ” ครับ
นานพอ คือ คนที่ประสบความสำเร็จมักทำงานในอาชีพที่เขารัก นานพอ ไม่ใช่ทำแค่ วันสองวันถอดใจเสียแล้ว หรือทำแค่ 1 เดือน ก็หยุดทำอย่างนี้คงประสบความสำเร็จได้ยาก แต่คนที่ประสบความสำเร็จในระดับสูงสุด เขาจะทำงานนั้น ตลอดชีวิตของเขา จนกระทั่งลมหายใจเฮือกสุดท้าย
ดังนั้น การทำงาน ด้วยความสม่ำเสมอ มากพอ และนานพอ เป็นแง่คิดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งท่านได้เสียชีวิตไปนานแล้ว แต่หลักการดังกล่าวยังคงใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย

#image_title
by drsuthichai | Oct 21, 2024 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
วิธีปลุกและปลดล็อคศักยภาพในตัวคุณ
โดย…สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
มนุษย์เราเกิดมาบนโลกนี้มีร่างกายเหมือนกัน ยกเว้นคนพิการ แต่มนุษย์เรามีศักยภาพไม่เหมือนกัน คนพิการบางคนมีศักยภาพมากยิ่งกว่าคนที่มีร่างกายสมบูรณ์ก็มีให้เห็นมาแล้ว อะไรเป็นตัวกำหนดให้มนุษย์เรา เกิดการพัฒนาศักยภาพของตัวเอง เพราะหากว่าเราทราบ เราก็จะสามารถปลุกมันออกมาใช้งานได้
ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของคำว่า “ ศักยภาพ ” กันก่อน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า “ ศักยภาพ ” คือ ภาวะแฝง,อำนาจหรือคุณสมบัติที่มีแฝงอยู่ในสิ่งต่างๆ อาจทำให้พัฒนาหรือให้ปรากฏเป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้ เช่น เขามีศักยภาพในการทำงานสูง น้ำตกขนาดใหญ่มีศักยภาพในการให้พลังงานได้มาก เป็นต้น
มนุษย์มีพลังแฝงกันทุกๆคน แต่คนส่วนใหญ่ในโลกน้อยคนนักที่จะปลุกมันออกมาใช้งาน หรือสร้างมันขึ้นมา ตรงกันข้ามคนที่ประสบความสำเร็จมักเป็นคนที่ปลุกพลังแฝงออกมาใช้งาน ในตอนนี้เราจะมาเรียนรู้ หลักการเพื่อที่จะได้นำเอาไปปฏิบัติ หลักการบางประการที่ทำให้คนประสบความสำเร็จในการปลุกศักยภาพมีดังนี้
1.จงสร้างเป้าหมายขึ้นมาในชีวิต คนส่วนใหญ่ในโลกนี้ มักดำเนินชีวิตไปตามเวรตามกรรม ไม่ทราบว่าตนเองต้องการอะไร ตนเองชอบอะไร ตนเองเกิดมาเพื่อที่จะทำสิ่งใด หรือ ไม่ทราบว่าตนเองทำสิ่งนั้นแล้วเกิดความสุขมากที่สุดในชีวิต แต่มนุษย์เราในโลกนี้ กลับดำเนินชีวิตอย่างไม่ค่อยมีความสุข เรามักจะเห็นคนจำนวนมากพร่ำบ่นถึงเรื่องงานที่หนัก เครียด เบื่อ อยากที่จะเปลี่ยนงาน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น คือ เราไม่มีเป้าหมายในชีวิต เราไม่รู้ว่าทิศทางของชีวิตจะไปหนทางไหน เปรียบเสมือน เรือที่ลอยอยู่กลางทะเล ไม่มีเป้าหมายว่าจะไปทิศทางไหน ดังนั้น หากท่านต้องการเพิ่มศักยภาพในตัวท่าน กระผมขอให้ท่านจงเริ่มกำหนด เป้าหมายของชีวิตไว้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป จงหาเป้าหมายที่ท่านต้องการจริงๆในชีวิต จงหาความต้องการที่แท้จริงของตนเอง
2.จงมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า มีคนหลายคนเคยถามกระผมว่า เขาก็มีเป้าหมายในชีวิตแล้ว แต่ทำไม ถึงไม่ประสบความสำเร็จ ผมก็ตอบเขาไปว่า “คุณขาดความปรารถนาอย่างแรงกล้า” เพราะหากท่านมีความต้องการอยากจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้จริงๆ ท่านก็จะคิดถึงมันตลอดเวลา ท่านจะฝันถึงมันตลอดเวลา ท่านก็จะหาวิธีการใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ตนเองได้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ ผมขอเปรียบเทียบ หากว่าท่านต้องการที่จะขับรถจากกรุงเทพไปภูเก็ตในเวลากลางคืน ท่านไม่เห็นภูเก็ต แต่ไฟด้านหน้ารถส่องไปได้แค่ไม่เกิน 200 เมตร แต่เป้าหมายของท่านคือภูเก็ต ท่านมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะไปภูเก็ตให้ได้ รถก็จะพาท่านเคลื่อนไปจนถึงภูเก็ตในที่สุด ดังนั้น หากท่านต้องการไปถึงเป้าหมายจงมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าต่อเป้าหมายที่ได้วางไว้ จงหมกมุ่นต่อเป้าหมายนั้น
3.ปลุกพลังในตัวคุณอยู่ตลอดเวลา หลายคนมีเป้าหมาย มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าแล้ว แต่เมื่อลงมือทำงานเพื่อไปตามความฝันตนเอง เวลาเกิดปัญหา เกิดอุปสรรค มักท้อแท้ ท้อถอย ดังนั้น หากท่านต้องการประสบความสำเร็จ ท่านควรหล่อเลี้ยงกำลังใจของตนเองตลอดเวลา เช่น ท่านต้องหมั่นคิดบวก พูดบวก กับตนเองบ่อยๆ , ฝึกจินตนาการถึงความสำเร็จบ่อยๆ ,ฝึกสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นต้น
ท้ายนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเกิดผลลัพธ์ กระผมจึงขอแนะนำให้ท่านทำแบบฝึกหัดดังต่อไปนี้
- จงเขียนเป้าหมายเป็นลายลักษณ์อักษร มีการกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน เขียนรายละเอียดต่างๆ ลงไปในกระดาษหรือสมุดบันทึก
- หมั่นทบทวนเป้าหมายบ่อยๆ ท่านอาจนำรูปภาพสิ่งต่างๆ ที่ท่านต้องการ โดยตัดภาพนั้นแล้วติดตามห้องที่ท่านสังเกตเห็นได้ง่ายหรือเป็นประจำ
- หมั่นฝึกฝนพัฒนาตนเองตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง โดยเข้ารับการอบรม อ่านหนังสือ ฟังการบรรยาย สัมมนา เพื่อที่จะได้นำเทคนิคต่างๆ ไปใช้ได้

#image_title
by drsuthichai | Oct 18, 2024 | การศึกษา, ข่าวสารเว็บไซต์, ทั่วไป อื่นๆ

ทำอย่างไรให้เป็นนักพูดผู้ยิ่งใหญ่
โดย…ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ก้อนหินหลายๆก้อนยังรวมกันเป็นภูเขา
น้ำหลายๆหยดยังรวมกันเป็นทะเล
นักพูดที่ฝึกฝนโดยไม่หยุดย่อมสร้างตำนาน
การจะเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่หรือนักพูดที่เป็นตำนานได้นั้น คน ๆ นั้นจะต้องมีหลักการบางอย่างถึงจะไปถึงความฝันนั้นได้ หลักการดังกล่าวนั้นคือ
1.ต้องมีเป้าหมาย ถ้าท่านอยากจะเป็นนักพูดระดับไหนท่านต้องเขียนเป้าหมายนั้นเป็นตัวหนังสือไว้ เพื่อเตือนตัวเองตลอดเวลา เช่น ถ้าท่านต้องการเป็นนักพูดระดับชาติ ท่านก็ต้องเขียนไว้ในหนังสือ หรือ ต้องการเป็นแค่นักพูดระดับจังหวัด ท่านก็ต้องเขียนเป็นตัวหนังสือเพื่อเป็นการเตือนตัวเตือนใจ
2.ต้องฝันหรือต้องจริงจัง กับเป้าหมายที่เราต้องการตลอดเวลา ถ้าเราจริงจังกับเป้าหมายหรือความฝัน เราก็จะมีการปรับปรุง พัฒนาตัวเอง เตรียมตัวเตรียมการพูดตลอดเวลา เพื่อที่จะเข้าสู่เป้าหมายนั้นๆ ถ้าท่านมีความจริงจังในเป้าหมายว่าท่านต้องการเป็นนักพูดระดับชาติ หากท่านฝันเช่นนั้นจริงท่านจะต้อง ปรับปรุงพัฒนาตนเองให้มากกว่าการเป็นนักพูดระดับจังหวัดหรือนักพูดระดับท้องถิ่น
3.วางแผน ถ้าสมมุติว่าเป้าหมายของท่านต้องการเป็นนักพูดระดับชาติ ท่านจำเป็นจะต้องมีการวางแผน เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายที่วางไว้ เช่น ท่านจะต้องทำอะไร เมื่อไร อย่างไร กำหนด วัน เวลา ปี ที่จะเดินไปสู่เป้าหมาย ต้องมีแผนระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งแผนสำรองไว้ด้วย
4. ต้องมีกลยุทธ์ หากท่านต้องการประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงและรวดเร็วกว่าแผนที่วางไว้ ท่านจำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์เพื่อให้เข้าไปถึงแผนที่วางไว้ ท่านอาจต้องสร้างหรือใช้เครื่องมือช่วย ได้แก่ การหาสื่อต่างๆ ( การเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ แล้วนำบทความ นั้นมารวมเล่มเป็นหนังสือ , การจัดรายการวิทยุเพื่อให้คนรู้จักมากขึ้น , การออกรายการทางโทรทัศน์เพื่อให้คนรู้จัก และ การใช้อินเตอร์เน็ต ฯลฯ) เราจำเป็นจะต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้เป็นที่รู้จัก
5.พยายามร่วมกับคนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน เช่น การเข้าชมรม สโมสร สมาคมที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักพูด เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือกัน หรือได้คำแนะนำที่ดี ๆ และสามารถเป็นกำลังใจให้แก่เราเวลาเราท้อแท้ใจเมื่อการพูดของเราประสบความล้มเหลว หรือเข้ารับการอบรมทางการพูดเพื่อให้ทราบเทคนิคใหม่ๆ
6.หาแบบอย่างมากๆ ถ้าท่านต้องการเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่ ท่านต้องหาแบบอย่างมากๆ ซึ่งปัจจุบันนี้ มีความสะดวกสบายกว่าสมัยก่อน เนื่องจากเรามีเครื่องมือต่างๆมากมาย( เครื่องถ่ายวีดีโอ เครื่องบันทึกเทป เครื่องMP 3 ) บันทึกการพูดของนักพูดที่ท่านชื่นชอบทุกครั้งเมื่อไปฟังเขาพูด หรือหากใครไม่มีโอกาสตามไปฟังนักพูดที่ตนชื่นชอบ เราก็สามารถซื้อ VCD , DVD นักพูดระดับชาติมาดูได้ เช่น ทอล์คโชว์ต่างๆ (จตุพล ชมพูนิช , โน๊ต อุดม และอีกหลายท่าน)หากท่านต้องการเป็นนักพูดประเภททอล์คโชว์ แต่หากท่านต้องการเป็นนักพูดทางการเมือง ท่านสามารถ สะสม เทป VCD,DVD ของนักการเมืองต่างๆ เช่น คุณสมัคร ,คุณเฉลิม , คุณชวน , คุณอภิสิทธิ์ หรือ นักพูดในแบบที่ท่านชื่นชอบ เพื่อเอาไว้ชมเอาไว้ศึกษาถึงลีลา น้ำเสียง ท่าทางในการพูดของนักพูดท่านนั้น แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง
7.ต้องมีการตรวจสอบ ควบคุม แผนการหรือเป้าหมายของเราตลอดเวลา ต้องทบทวนแผนการ ทบทวนเป้าหมายว่าสิ่งที่เราทำนั้น มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่เราวางไว้หรือไม่
การพูดโดยไม่คิด การพูดนั้นจะไม่ได้อะไร
การค้นคิดแต่ไม่ได้นำมาพูด การค้นคิดนั้นจะเปล่าประโยชน์
by drsuthichai | Oct 17, 2024 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
การสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน
โดย…ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผมเห็นคนที่ถูกเชิญขึ้นไปพูดต่อหน้าที่ชุมชนหลายคน อยู่ในอาการประหม่า บางคนสั่น บางคนพูดเสียงเบาเพราะความไม่มั่นใจหรือเชื่อมั่นในการพูดของตนเอง ในวันนี้เราจะมาพูดเกี่ยวกับเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าการที่เราไม่มีความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชนเนื่องมาจากสาเหตุอะไร ผมเคยถามคำถามนี้กับผู้ที่เข้ารับการอบรมการพูดต่อหน้าที่ชุมชนโดยที่กระผมเป็นวิทยากร คำตอบที่มักจะได้รับก็คือ การไม่รู้จะพูดอะไรเนื่องจากไม่มีข้อมูลหรือไม่ได้เตรียมการพูดมา บางคนบอกว่า ไม่คุ้นเคยผู้ฟัง กลัวผู้ฟังหรือว่าผู้ฟังที่มานั่งฟังอาจมีความรู้มากกว่าตน บางคนบอกว่า ไม่กล้าเนื่องจากไม่ได้ขึ้นฝึกพูดบ่อยๆ บางคนบอกว่า กลัวว่าจะพูดได้ไม่ดี ฯลฯ
สรุปแล้วคือผู้อบรมการพูดต่อหน้าที่ชุมชนหลายท่าน อ้างสิ่งต่างๆนานา หรือคิดไปต่างๆนานา แท้ที่จริงแล้ว เราสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชนได้ โดยการทำสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น คือ
1.บางคนอ้างว่าไม่ได้เตรียมตัวมาหรือไม่รู้จะพูดอะไร เราก็ทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามก็คือ เราต้องเตรียมการพูดให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการลำดับเรื่อง การใช้ถ้อยคำ การหาข้อมูล การวิเคราะห์ผู้ฟังว่าเป็นกลุ่มไหนมาฟัง เป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น เป็นวัยทำงานหรือเป็นวัยชรา เพื่อเราจะเลือกใช้ภาษาถ้อยคำให้ถูกกับวัยของผู้ฟังหรือ ตัวอย่างของเรื่องให้สอดคล้องกับวัยของผู้ฟัง รวมไปถึงเวลาในการพูด ถ้าพูดช่วงเช้า กับช่วงบ่าย ก็ต้องใช้กลยุทธ์ในการพูดที่แตกต่างกัน เนื่องจากช่วงบ่ายจะเป็นช่วงที่นักพูดมักพูดว่า เป็นช่วง “ ปราบเซียน ” จึงต้องพูดให้มีความตื่นเต้น มีชีวิตชีวา เนื่องจากคนกินอาหารอิ่ม ง่วง ถ้าขืนไปพูดเสียงเบา ไม่เร้าใจ ผู้ฟังก็อาจหลับกันหมด
2.บางคนอ้างว่าไม่คุ้นเคยผู้ฟัง กลัวผู้ฟังหรือว่าผู้ฟังที่มานั่งฟังอาจมีความรู้มากกว่าตน เมื่อรู้เช่นนี้ ว่าเราไม่คุ้นเคยผู้ฟัง กลัวผู้ฟัง กระผมขอแนะนำว่า ผู้พูดควรไปก่อนเวลาสักเล็กน้อย ไปทำไม ไปเพื่อทำความรู้จักกับผู้ฟัง ชวนผู้ฟังพูดคุยบ้าง ทำความรู้จัก ทำความคุ้นเคย ก่อนที่จะบรรยายเพื่อให้เกิดการลดอาการประหม่าเนื่องจากการไม่คุ้นเคยหรือกลัวผู้ฟัง สำหรับบางคนกลัวว่าผู้ฟังที่มานั่งฟังอาจมีความรู้มากกว่าตน เราก็ควรคิดในแง่ดีว่า สิ่งที่เราบรรยาย ผู้ฟังอาจไม่รู้ เพราะความรู้เรื่องหนึ่งๆ มันมีหลายแง่มุม ตอนนี้เราเป็นผู้พูด เรามาพูดแง่มุมของเรา ถ้าผู้ฟังมีความรู้อะไรก็ช่วยเติมเต็มได้
3.บางคนอ้างว่า ไม่กล้าเนื่องจากไม่ได้ขึ้นฝึกพูดบ่อยๆ บางคนบอกว่า กลัวว่าจะพูดได้ไม่ดี สำหรับข้อนี้ง่ายมาก เมื่อเรารู้ว่าเราไม่กล้าเนื่องจากไม่ได้ขึ้นฝึกพูดบ่อยๆ เราก็ควรทำสิ่งที่ตรงข้ามคือ เราต้องหาโอกาสในการฝึกการพูดบ่อยๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองในการพูดในที่ชุมชน
ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน มีความสำคัญมาก เราจะเห็นได้ว่า บางคนมีความรู้มาก แต่ไม่กล้าพูดหรือพูดด้วยความไม่มั่นใจ ก็ทำให้ผู้ฟังขาดความศรัทธา ตรงกันข้ามกับอีกคนหนึ่งที่มีองค์ความรู้น้อยกว่า แต่มีความมั่นใจในตนเอง มีความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน ทำให้คนๆนั้น เป็นที่ยอมรับและมีคนศรัทธาในคำพูดหรือการพูดของเขา
ฉะนั้น นักพูดที่ดีต้องฝึกความกล้า โดยคิดว่า ความกลัวมักทำให้เสื่อม หรือ ถ้ากลัวสิ่งไหนให้เข้าไปหาสิ่งนั้นแล้วจะทำให้หายกลัว (ถ้ากลัวการพูดต่อหน้าที่ชุมชนท่านก็ต้องเข้าหาแล้วท่านจะหายกลัวในที่สุด)ท้ายนี้ขอฝากคำกลอนที่มีผู้แต่งซึ่งแต่งได้ไพเราะมากซึ่งกระผมไม่ทราบว่าใครแต่งจึงขออนุญาตนำมาปิดท้ายครับ
พูดทั้งที ต้องให้มี ความเชื่อมั่น
อย่ามัวสั่น หวั่นผวา น่าสงสาร
จงเตรียมกาย เตรียมใจ ให้เบิกบาน
ความกล้าหาญ บันดาลให้ พูดได้ดี

#image_title
by drsuthichai | Oct 10, 2024 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ทอล์คโชว์ แนะแนวการศึกษา ของ ม.พะเยา ณ โรงเรียนปัว อ.ปัว จ.น่าน เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2553 ณ โรงเรียนปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน จัดโดย…มหาวิทยาลัยพะเยาวิทยากรสอนสนุก #คำคม #คำคมสร้างแรงบันดาลใจ #นักพูดสร้างแรงบันดาลใจ #คำคมสร้างกำลังใจ #คำคมสอนใจwww.drsuthichai.com

#image_title

#image_title

#image_title

#image_title
by drsuthichai | Oct 10, 2024 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ บรรยายหัวข้อ “ ศิลปะการพูดสำหรับนักบริหาร ” ให้แก่นักบริหารของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดต่างๆที่เดินทางมาจากทั่วประเทศ(นบ.ปภ.)รุ่นที่ 9 ณ วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2556 #วิทยากรสอนสนุก #คำคม #คำคมสร้างแรงบันดาลใจ #นักพูดสร้างแรงบันดาลใจ #คำคมสร้างกำลังใจ #คำคมสอนใจwww.drsuthichai.com

#image_title

#image_title

#image_title

#image_title

#image_title

#image_title