บางท่านอาจจะยังมีข้อสงสัย หรือยังไม่มีโอกาสได้ทำความเข้าใจ กับการใช้งานเสาไฟฟ้าคอนกรีต ที่กระจายตามส่วนต่างๆ ในเขตพื้นที่ชุมชน ตามสองข้างทาง หรือใกล้เคียงกับถนนใหญ่แถวบ้านของทุกท่าน ด้วยนอกเหนือจากความหลากหลายของขนาดเสาไฟฟ้าที่ใช้กันโดยทั่วไปตามที่เราได้พบเห็นกัน แต่แน่นอนว่าในความหลากหลายนั้น ในอุปกรณ์ติดพ่วงมากับเสาไฟฟ้าบางประเภท หรือในบางขนาดความสูง จะมีจุดเสริมที่ติดตั้งเพิ่มเติมให้เห็นถึงความแตกต่างจากเสาไฟฟ้าทั่วไปด้วยเช่นกัน

โดยเฉพาะในส่วนของเสาไฟฟ้าในขนาดความสูงตั้งแต่ 12 เมตรเป็นต้นไป การติดพ่วงหม้อแปลงมาด้วยนั้น จะเป็นเรื่องปกติที่เห็นกันจนชินตาอย่างแน่นอน เพราะด้วยคุณสมบัติที่ผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตขนาดนี้ขึ้นมา เพื่อการใช้งานกับการช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับการจ่ายไฟให้กับผู้คนได้ใช้งานกันนั่นเอง และวันนี้เราจะมาขยายความกับเรื่องของหม้อแปลง ที่ติดตั้งตามเสาไฟฟ้าในขนาดความสูงดังที่กล่าวมาดังต่อไปนี้

รูปแบบหม้อแปลงบนเสาไฟฟ้าที่พบเห็นแพร่หลายที่สุด

เดิมทีหน้าที่ของการทำงานร่วมกัน ระหว่างเสาไฟฟ้ากับหม้อแปลงนั้น จะเป็นการย่อขนาดจากรูปแบบการทำงานของโรงไฟฟ้า โดยจะมีการปรับเปลี่ยนจำนวนของแรงดันหรือกระแสไฟฟ้า ให้อยู่ในปริมาณที่พอใช้กันตามความจำเป็นนั่นเอง ซึ่งทางเราจะพยายามให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด โดยเบื้องต้น หม้อแปลงไฟฟ้านั้น จะรูปแบบที่ใช้ติดตั้งเพิ่มเติมบนเสาไฟฟ้าตามความสูงที่ 12 เมตร และที่สำคัญเลยก็คือ จะมีการแบ่งแยกประเภททั้งหมด 2 แบบ ได้แก่ แบบแขวน และแบบนั่งร้าน

โดยในแบบแขวนนั้น อาจจะเป็นรูปแบบของหม้อแปลงที่ติดตั้งบนเสาไฟฟ้าที่พบเห็นแพร่หลายพอสมควร โดยถ้าหากเป็นเสาสูงเกินหรือเท่ากับ 12 เมตร และพบเห็นการติดพ่วงแบบข้างเดียว ในฝั่งใดฝั่งหนึ่งของเสาไฟนั้น นั่นคือลักษณะของหม้อแปลงแบบแขวน ซึ่งจะใช้กับลักษณะของเสาไฟฟ้าแบบเสาเดี่ยว น้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 1000 กิโลกรัม และ 1200 กิโลกรัม ไม่เกินนี้

 

การติตดั้งหม้อแปลงแบบนั่งร้านบนเสาไฟฟ้า

แน่นอนว่าในการที่ต้องใช้รูปแบบการค้ำยัน หรือการติดตั้งหม้อแปลงในรูปแบบนั่งร้าน ที่มองผิวเผินจะมีลักษณะคล้าย กับการขึ้นส่วนประกอบของนั่งร้าน เพื่อการทำงานในการก่อสร้างงานโครงสร้างต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นลักษณะการถอดแบบมาในแบบเดียวกัน เพื่อให้เสาไฟฟ้านั้นสามารถรับน้ำหนักบรรทุกที่เกิดขึ้นจากหม้อแปลงได้ ด้วยขนาดของหม้อแปลงที่มีขนาดใหญ่ รับหน้าที่ในการแปลงกระแสไฟฟ้าที่มากกว่าแบบแขวน ด้วยน้ำหนักต่อชิ้นที่มากกว่า 300 กิโลกรัม การที่ต้องใช้ขั้นตอนการติดตั้ง ที่ต้องมีส่วนช่วยเหลือในการรับน้ำหนัก จึงจำเป็นกับการติดตั้งหม้อแปลงชนิดนี้ และที่สัญน้ำหนักสูงสุดของหม้อแปลงแบบนั่งร้านนี้ มีสูงสุดถึง 4500 กิโลกรัมเลยทีเดียว โดยจะรับหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักของหม้อแปลง ที่รับกระแสไฟตั้งแต่ 50 kVA ไปจนถึงส่วนหม้อแปลงที่รับกระแสไฟในจำนวน 200 kVA ซึ่งจะมีน้ำหนักที่แปรผันตามสัดส่วนของขนาดของหม้อแปลงนั่นเอง

 

บทสรุปตอนท้าย

ถือว่าน่าจะทำให้หลายท่า น่าจะพอทำความเข้าใจกับเสาไฟฟ้าคอนกรีตขนาด 12 เมตรขึ้นไป และได้เห็นลักษณะของหม้อแปลง ที่มีลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยม มองอีกแบบก็คล้ายกับลักษณะของรังผึ้ง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนประกอบอย่างนึง ที่ทำให้พวกเรานั้นมีกระแสไฟฟ้าใช้งานกันอย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้นั่นเอง