จำเลยได้รับเงินงบประมาณ เกินสิทธิที่ตนเองได้ โจทก์หรือหน่วยงานราชการสามารถติดตามเอาเงินคืนได้โดยไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่1259/2564
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานของราชการที่ได้รับเงินงบประมาณเป็นเงินเดือน รวมทั้งเงินตอบแทนหรือเงินรางวัลซึ่งเป็นเงินงบประมาณของแผ่นดินทั้งสิ้น การเบิกจ่ายงบประมาณของแผ่นดินย่อมเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย โจทก์ย่อมใช้สิทธิติดตามเอาเงินงบประมาณแผ่นดินที่นำไปจ่ายให้จำเลยเกินสิทธิที่จะได้รับ และสิทธิติดตามเอาคืนเงินที่จ่ายเกินสิทธิให้จำเลยเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ไม่มีอายุความ จำเลยจะอ้างว่าได้รับเงินเกินสิทธิในฐานลาภมิควรได้ซึ่งมีอายุความ 1 ปีตามมาตรา 419 หาได้ไม่
หมวดหมู่
- การศึกษา (236)
- ข่าวสารเว็บไซต์ (302)
- ข่าวโปรโมชั่น (216)
- คลิปวีดีโอเด็ดๆ (11)
- ทั่วไป อื่นๆ (826)
- ที่พัก (47)
- บริการรับจ้างทั่วไป (73)
- บันเทิง ดารา ภาพยนตร์ (13)
- สุขภาพ (119)
- ออนไลน์น่ารู้ (369)
- เดินทางท่องเที่ยว (74)
- เตือนภัยมิจฉาชีพออนไลน์ (29)
- แนะนำสินค้าและบริการ (442)
บทความล่าสุด
- จำเลยได้รับเงินงบประมาณ เกินสิทธิที่ตนเองได้ โจทก์หรือหน่วยงานราชการสามารถติดตามเอาเงินคืนได้โดยไม่มีอายุความคำพิพากษาศาลฎีกาที่1259/2564 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานของราชการที่ได้รับเงินงบประมาณเป็นเงินเดือน รวมทั้งเงินตอบแทนหรือเงินรางวัลซึ่งเป็นเงินงบประมาณของแผ่นดินทั้งสิ้น การเบิกจ่ายงบประมาณของแผ่นดินย่อมเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย โจทก์ย่อมใช้สิทธิติดตามเอาเงินงบประมาณแผ่นดินที่นำไปจ่ายให้จำเลยเกินสิทธิที่จะได้รับ และสิทธิติดตามเอาคืนเงินที่จ่ายเกินสิทธิให้จำเลยเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ไม่มีอายุความ จำเลยจะอ้างว่าได้รับเงินเกินสิทธิในฐานลาภมิควรได้ซึ่งมีอายุความ 1 ปีตามมาตรา 419 หาได้ไม่ May 16, 2025
- ขู่เข็ญ ข่มขู่ “ เดี๋ยวฆ่าให้ตาย ” หรือ “ เดี๋ยวยิงทิ้งเลย ” การทำให้คนอื่นเกิดความตกใจกลัว ต้องรับโทษทางอาญาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2542ขณะที่จำเลยทั้งสองพูดว่า “ถ้ามึงแน่จริงมึงออกมาทำไมไม่ออกมา ออกมาโดน แน่” นั้น จำเลยทั้งสองอยู่ที่หน้าบ้าน ของผู้เสียหาย แสดงว่าเป็นการบังคับขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหาย ออกไปจากบ้าน หากขืนออกไปจะถูกจำเลยทั้งสองทำร้าย หาใช่เป็นเพียงคำท้าให้ออกไปต่อสู้กันไม่ คำพูดเช่นนี้ใช้กับ ผู้ใดโดยปกติแล้วผู้นั้นย่อมตกใจกลัว เมื่อข้อเท็จจริง ฟังได้ว่าผู้เสียหายเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2517จำเลยถือปืนพลาสติกมาขู่เข็ญทำท่าจะยิงผู้เสียหายผู้เสียหายเข้าใจว่าเป็นปืนจริงเกิดความกลัวหรือตกใจ จำเลยต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 May 16, 2025
- ทำไมต้องใช้ผนังกันไฟ ดีอย่างไร ? May 16, 2025
- ปล่อยเงินกู้ อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย ? ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 – การเก็บดอกเบี้ยต้องไม่เกิน ร้อยละ 15 ต่อปี – ต้องไม่กำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่น ต้องไม่มีการเรียกเอาประโยชน์อื่นใด นอกจากดอกเบี้ยที่กำหนดในสัญญา บทลงโทษ จำคุก 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ May 15, 2025
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6083/2546 ความรักเป็นสิ่งที่เกิดจากใจไม่อาจบังคับกันได้ ความรักที่แท้จริง คือความปรารถนาดีต่อคนที่ตนรัก ความยินดีที่คนที่ตนรักมีความสุข การให้อภัยเมื่อคนที่ตนรักทำผิด และการเสียสละความสุขของตนเพื่อความสุขของคนที่ตนรัก จำเลยปรารถนาจะยึดครองผู้ตายเพื่อความสุขของจำเลยเอง เมื่อไม่สมหวังจำเลยก็ฆ่าผู้ตายเป็นความผิด และ การกระทำที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ของจำเลยโดยฝ่ายเดียว มิได้คำนึงถึงจิตใจและความรู้สึกของผู้ตายหาใช่ความรักไม่ ทั้งเป็นความผิดที่เป็นอันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง May 15, 2025
- วิธีเลือกซื้อซิเดกร้าอย่างปลอดภัย พร้อมคำแนะนำจากเภสัชกร May 14, 2025
- ฟ้องเรียกคืนเงินตามสัญญาซื้อขาย อายุความ 10 ปี (หลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 193/30, 419) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2567 โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจากจำเลย มีบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินว่า หากรังวัดที่แล้วปรากฏว่ามีเนื้อที่ไม่ครบถ้วนตามที่ระบุในโฉนดที่ดิน จำเลยยินยอมคืนเงินโจทก์ตามส่วนที่ดินซึ่งขาดไป เป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินโดยมีข้อตกลงการคืนเงินถ้าที่ดินไม่ครบถ้วน เมื่อรังวัดที่ดินแล้วพบว่าที่ดินขาดหายไปบางส่วนจริง การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อเรียกเงินราคาที่ดินบางส่วนคืนเป็นกรณีสืบเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน จะนำอายุความ 1 ปี ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 มาบังคับไม่ได้ เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 (หมายเหตุ 1 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เงินที่โจทก์จ่ายไปตามสัญญาซื้อขายไม่ถือว่าเป็นเงินส่วนที่โจทก์ชำระเกินไปและเป็นเงินที่จำเลยได้มาเพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ อันจะถือได้ว่าเป็นลาภมิควรได้ที่ตกแก่จำเลยซึ่งโจทก์จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินคืนจากจำเลยภายในอายุความ 1 ปี ) May 14, 2025
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2566 การที่โจทก์จำเลยทำสัญญาลักษณะที่รวมการเช่าระยะแรก 30 ปี แต่กำหนดมีคำมั่นที่โจทก์จะให้เช่าอีกสองคราว คราวละ 30 ปี ในวันเดียวกัน ทั้งจำเลยยังชำระเงินการเช่าสองคราว คราวละ 30 ปี เช่นที่กล่าวข้างต้น ไม่มีรายละเอียดกำหนดค่าเช่าใหม่ เงื่อนไขการเช่าใหม่ ทั้ง ๆ ที่กำหนดระยะเวลายาวนานล่วงเลยไปแล้วถึง 30 ปี จะให้ต่อระยะเวลาเช่าไปอีก 2 คราว คราวละ 30 ปี รวมเป็น 90 ปี ซึ่งปกติสภาพความเจริญของที่ดิน สภาวะเศรษฐกิจ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่การทำคำมั่นของโจทก์จำเลยเท่ากับถือตามอัตราค่าเช่าเดิม เงื่อนไขการเช่าเดิมทุกประการ แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าโจทก์จำเลยต่างประสงค์หลีกเลี่ยง ป.พ.พ. มาตรา 540 ที่ห้ามเช่าเกิน 30 ปี ฉะนั้นสัญญาส่วนที่เป็นคำมั่นที่จะต่อสัญญาเช่าอีก 2 คราว ๆ ละ 30 ปี จึงตกเป็นโมฆะ เนื่องจากวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายชัดแจ้ง และกรณีไม่อาจจะให้ตีความเป็นสัญญาบุคคลสิทธิระหว่างโจทก์กับจำเลยเพื่อให้มีผลบังคับต่อไปตามที่จำเลยฎีกา เพราะมิฉะนั้นวัตถุประสงค์ของ ป.พ.พ. มาตรา 540 ดังกล่าวย่อมจะไร้ผลบังคับ May 14, 2025
- ภริยาฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นจะต้องบรรยายฟ้องถึงพฤติการณ์แสดงตนโดยเปิดเผยของหญิงอื่นด้วยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5856/2567 May 14, 2025
- เปรียบเทียบข้อดีของการจ้างโรงงานผลิตเครื่องสำอางในประเทศไทย May 13, 2025