ธุรกิจ B2B หรือ Business to Business เป็นธุรกิจที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อห่วงโซ่การตลาดในปัจจุบัน ซึ่งเป็นรูปแบบธุรกิจที่สองธุรกิจทำการค้าร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจ ด้วยการผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองต่อธุรกิจร่ายย่อย ยกตัวอย่างเช่น การซื้อผ้าจากโรงงานเพื่อนำมาผลิตเสื้อผ้า เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วธุรกิจรูปแบบดังกล่าวจะพบเห็นกันได้มากในธุรกิจโลจิสติกส์ เช่น การขนส่ง DHL เป็นต้น

ด้วยโลกของเราเปลี่ยนเข้าสู่การติดต่อผ่านทางออนไลน์มากขึ้น จึงส่งผลให้ธุรกิจรูปแบบ B2B จำเป็นจะต้องให้บริการออนไลน์มากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้แพลตฟอร์ม E-Commerce จึงมีความสำคัญและสามารถเป็นตัวช่วยที่ดีของธุรกิจดังกล่าวได้

  1. ERP
    ERP หรือ Enterprise Resource Planning คือระบบที่ใช้ในการวางแผนจัดการห่วงโซ่อุปทานหลัก ไม่ว่าจะเป็น ระบบการเงิน การบริหารบุคคล ระบบจัดซื้อจัดจ้าง ระบบสำหรับกลุ่มบริหาร และการจัดการข้อมูล เป็นต้น ซึ่งระบบ ERP มักพบว่าทำงานอยู่บน 2 ระบบหลัก ได้แก่ ระบบ Cloud และระบบ On-Premise ซึ่งความแตกต่างของทั้งสองระบบนี้ก็คือตำแหน่งของการติดตั้ง ERP โดยระบบ Cloud จะถูกติดตั้งบน Cloud Server ซึ่งเราสามารถเข้าใช้งานได้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ส่วนระบบ On-Premise คือการติดตั้ง ERP ไว้บนฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์ที่มีการใช้งานจริงในบริษัท ซึ่งประโยชน์ของระบบ ERP คือช่วยให้องค์กรเห็นภาพรวมการทำงานของทั้งระบบได้
  2. E-commerce (Adobe commerce)
    แพลตฟอร์ม E-Commerce จัดว่าเป็นตัวช่วยที่สำคัญต่อธุรกิจ B2B เป็นอย่างมาก เนื่องจากการที่ธุรกิจมีหน้าเว็บไซต์สามารถช่วยเพิ่มมาตรฐานให้กับธุรกิจได้ ซึ่ง Adobe Commerce เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยสร้างเว็บไซต์และตัวช่วยทางการตลาดให้แก่ธุรกิจกลุ่ม B2B ได้เป็นอย่างดี ด้วยระบบหน้าบ้านและหลังบ้านที่ได้ประสิทธิภาพ ตลอดจนระบบการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บไว้บนคลาวด์เดียวได้เลย จึงเหมาะสมกับโครงสร้างธุรกิจที่มีความซับซ้อนตามความต้องการของลูกค้า
  3. CRM
    CRM หรือ Customer Relationship Management คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับจัดการความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้า ซึ่งขั้นตอนนี้มักจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีการทำตลาดไปแล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดการซื้อสินค้าซ้ำนั่นเอง โดยกลุ่มบุคคลากรในบริษัทที่จะต้องใช้งานระบบนี้ก็คือทีมการตลาดและทีม Sales หลักการทำงานของระบบ CRM คือการบันทึกข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีลูกค้าโทรเข้ามายังบริษัท ทีม Sales จะทำหน้าที่บันทึกข้อมูลของลูกค้าและสิ่งที่ลูกค้าต้องการลงในระบบ หากยังไม่มีการซื้อขายในทันที ทางทีม Sales ก็จะทำหน้าที่ติดต่อกลับไปยังลูกค้านั่นเอง ซึ่งประโยชน์ในภาพรวมของระบบ CRM ก็คือการช่วยเพิ่มยอดขายให้กับบริษัท การเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า และการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้านั่นเอง