ที่ดิน สปก. ขายไปแล้ว รับเงินไปแล้ว อ้างว่าเป็น โมฆะ ฟ้องขับไล่คนซื้อที่ดิน สปก. ให้ออกไปจากที่ดิน  จะทำได้ไหม?

ที่ดิน สปก. ขายไปแล้ว รับเงินไปแล้ว อ้างว่าเป็น โมฆะ ฟ้องขับไล่คนซื้อที่ดิน สปก. ให้ออกไปจากที่ดิน  จะทำได้ไหม?

ที่ดิน สปก. ขายไปแล้ว รับเงินไปแล้ว อ้างว่าเป็น โมฆะ ฟ้องขับไล่คนซื้อที่ดิน สปก. ให้ออกไปจากที่ดิน  จะทำได้ไหม?

โดย…ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ หรือ ทนายโทนี่

https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740

ตอบ เดิม การซื้อขายที่ดิน ส.ป.ก.โดยส่งมอบการครอบครองให้แล้ว สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ (อ้างอิง จาก ฎีกาที่ 2293/2552 ) ต่อมาศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่วินิจฉัยว่า ผู้ขายที่ดิน ส.ป.ก.ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11165/2558)

 

พระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39  ห้ามไม่ให้ซื้อขาย  หากซื้อขายก็ถือว่าเป็นโมฆะตามมาตรา 150 (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

พระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518

มาตรา 39 ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิ ในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ก าหนดในกฎกระทรวง

 

หากมีการซื้อขาย ก็จะถือว่าเป็นโมฆะตามมาตรา 150 (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

“มาตรา 150” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 150 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ “

 

ดังนั้น คนที่ซื้อก็ไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปเป็นเจ้าของที่ดินได้  แต่ในทางกลับกัน หากไม่มีการทำประโยชน์ในที่ดิน แปลงดังกล่าว ที่ดิน สปก.แปลงนั้นก็จะตกไปเป็นของ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ สปก. และทาง. คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ สปก. ก็จะนำไปจัดสรรให้แก่เกษตรกรรายใหม่ได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2552 กรณีโจทย์-จำเลย ทำสัญญาซื้อ – ขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11165/2558 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2558)

ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน และเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เป็นผู้รับสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โจทก์ขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2546 แล้ว ท. สละการครอบครองให้จำเลยทั้งสองเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา แม้ก่อนฟ้องโจทก์กับ ท. ได้ทำบันทึกข้อตกลงว่าโจทก์จะคืนเงินให้แก่ ท. 110,000 บาท และ ท. จะคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้แก่ ท. แต่อย่างใด การที่โจทก์กลับมาอ้างเป็นผู้มีสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 – 01 ก.) และมาฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ท. จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท

 

สำหรับประเด็น ที่ดินพิพาทที่มีปัญหา  ก็เป็นเรื่องที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบหลักเกณฑ์ต่อไป

#image_title

 

 

 

 

 

พูดเรื่องจริงก็อาจถูกฟ้องหมิ่นประมาทได้เช่นกัน

พูดเรื่องจริงก็อาจถูกฟ้องหมิ่นประมาทได้เช่นกัน

พูดเรื่องจริง จะฟ้องหมิ่นประมาทคนพูดได้หรือไม่
คำตอบ คือ ถึงแม้จะพูดเรื่องจริง ก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทได้(มาตรา 326) แต่ก็มีหลักกฎหมายที่ระบุว่า ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท(มาตรา 329) หรือ
มีข้อยกเว้นเที่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 330 )
โดย….ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา ๓๒๖ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ( คำว่า “ใส่ความ” ตามภาษากฎหมาย คือ การพูดเรื่องอะไรก็ได้ที่ทำให้คนอื่นหรือผู้อื่นฟังแล้วเกิดความเสียหายกับผู้นั้น แม้จะเป็นเรื่องจริงก็ตาม)
แต่ก็มีหลักกฎหมายตามมาตรา 329 ที่ระบุว่า ผู้ที่ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ได้แก่บุคคลที่ซึ่งบัญญัติไว้ตามมาตรา 329 คือ
มาตรา 329 ประมวลกฎหมายอาญา คือ ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(๑) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(๒) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(๓) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(๔) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท “

สำหรับหลักกฎหมาย ที่ได้รับการยกเว้นที่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 330 )
มาตรา 330 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
สรุปอีกครั้ง คือ
พูดเรื่องจริง จะฟ้องหมิ่นประมาทคนพูดได้หรือไม่
คำตอบ คือ ถึงแม้จะพูดเรื่องจริง ก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทได้(มาตรา 326) แต่ก็มีหลักกฎหมายที่ระบุว่า ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท(มาตรา 329) หรือ มีข้อยกเว้นเที่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 330 )

#image_title

ความสำเร็จเกิดจากการคิดเป็นภาพ

ความสำเร็จเกิดจากการคิดเป็นภาพ

เพียงคิดเป็นภาพความสำเร็จก็มีขึ้น
โดย…สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
นักประดิษฐ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสองพี่น้องตระกูลไรท์ที่คิดค้นเครื่องบินขึ้นมาได้ โทมัส เอดิสันที่คิดค้นหลอดไฟฟ้าขึ้นมาได้ สตีฟ จอบส์ ที่คิดค้นแอปเปิลคอมพิวเตอร์และสินค้าอื่นๆของบริษัท ก่อนที่เขาเหล่านี้จะประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาได้ พวกเขาจะต้องมีภาพของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ขึ้นมาภายในใจก่อน
การคิดเป็นภาพจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ถึงกับกล่าวว่า “ จินตนาการมีความสำคัญกว่าความรู้ ” หรือ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส เรเน่ เดสการตส์ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังได้กล่าวว่า “ ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงเป็น ” ซึ่งก็ถือว่ามีความเป็นจริงอย่างยิ่ง เพราะเคยมีการวิจัยว่า คนธรรมดามักจะคิดเป็นคำ แต่อัจฉริยะมักคิดเป็นภาพ จึงไม่เป็นที่แปลกใจว่าในยุคปัจจุบันเรามักจะเห็น ผู้ที่สร้างเครื่องมือต่างๆ โดยสร้างให้เป็นแผนภาพ แผนภูมิ แผนภาพใยแมงมุม Mind Map เป็นต้น
– Mind Map เป็นตัวอย่างได้อย่างดีในการอธิบายในเรื่องนี้ Mind Map คิดค้นโดย โทนี่ บูซาน เป็นเครื่องมือในการจัดหมวดหมู่ เชื่อมโยงคำต่างๆ ให้เป็นภาพ เพื่อให้ง่ายต่อความจำ ซึ่งประโยชน์ของ Mind Map มีมากมาย เช่น ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเรียน สนุกสนานไม่เบื่อ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ง่ายขึ้น ฯลฯ
การคิดเป็นภาพจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จ ในการฝึกอบรม ในการ
สัมมนา เกี่ยวกับเรื่องของความสำเร็จ ผมมักแนะนำผู้รับการอบรม หรือ ผู้ที่สัมมนา ให้ฝึกคิดเป็นภาพหรือฝึกจินตนาการทุกๆวัน เกี่ยวกับเรื่องของเป้าหมายหรือความฝันของตนเอง เวลาที่เหมาะสมคือ ช่วงที่คุณกำลังเพลินกับการอาบน้ำ ช่วงนั่งรถไปทำงานและก่อนนอนหลับตอนกลางคืน อีกทั้งยังแนะนำเพิ่มเติมให้ติดภาพของเป้าหมายหรือความฝันที่ต้องการติดตามห้องนอน ห้องทำงาน เพื่อที่จะได้จดจำได้ง่ายขึ้น เช่น นำภาพบ้านที่ต้องการ , รถยนต์ที่ต้องการ , จำนวนเงินที่ต้องการ และสิ่งต่างๆที่ต้องการติดตามสถานที่ต่างๆ ที่ทำให้เราเห็นอยู่เสมอ
เคยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ได้นำเอานักเทนนิสโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งซ้อมจริง กลุ่มที่สองไม่ต้องซ้อมเลย และกลุ่มที่สามซ้อมจากจินตนาการไม่มีการซ้อมจริง ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ซ้อมจริงฝีมือออกมาปกติคงที่ กลุ่มที่สอง ไม่มีการซ้อมเลย ฝีมือแย่ลง และกลุ่มที่สาม ที่ซ้อมจากจินตนาการไม่มีการซ้อมจริงผลปรากฏว่า มีฝีมือออกมาปกติคงที่ เช่นเดียวกับกลุ่มที่หนึ่ง ดังนั้นการฝึกซ้อมโดยคิดเป็นภาพหรือการซ้อมจากจินตนาการมีความสำคัญเพราะ สมองมักแยกไม่ออกระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องในจินตนาการ
หากว่าคุณต้องการประสบความสำเร็จในด้านใด ไม่ว่าต้องการเป็นนักพูด นักร้อง นักดนตรี นักแสดง นักขาย ฯลฯ ลองฝึกคิดให้เป็นภาพหรือจินตนาการดู เช่น หากว่าคุณปรารถนาอยากเป็นนักพูด จงฝึกคิดเป็นภาพหรือจินตนาการว่า คุณกำลังขึ้นไปพูดบนเวทีพูดต่อหน้าที่ชุมชนกับผู้คนจำนวนมากมายหลายพันคน ถามว่าทำไมต้องจินตนาการว่ามีหลายพันคน เพราะถ้าหากคุณคิดเป็นภาพหรือจินตนาการว่ามีคนมาฟังแค่สิบยี่สิบคน แล้วถ้าหากคุณไปพูดจริงๆ มีคนฟังเป็นร้อยคนคุณจะรู้สึกตื่นเต้นเนื่องจากมีคนมาก ไหนๆจะคิดเป็นภาพหรือจินตนาการทั้งทีควรฝึกคิดเป็นภาพหรือจินตนาการให้ใหญ่ไปเลย จินตนาการว่ามีคนมาฟัง หลายพันคน ถ้าเกิดในอนาคตมีคนมาฟังแค่ร้อยสองร้อยคนคุณจะรู้สึกมีความประหม่าน้อยลง เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าหากว่าท่านปรารถนาความสำเร็จ การฝึกคิดเป็นภาพหรือฝึกการจินตนาการจึงเป็นสิ่งที่ท่านควรฝึกฝนทุกๆวัน ฝึกให้เป็นนิสัยโดยการจัดเวลาในการฝึกคิดเป็นภาพหรือจินตนาการ ผู้ประสบความสำเร็จจำนวนมากใช้เทคนิคนี้แล้วได้ผล ไม่ว่าจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในประวัติศาสตร์หรือในยุคปัจจุบัน

#image_title

ความรัก ” รักไม่หวาน”

ความรัก ” รักไม่หวาน”

ความรักก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้
ซึ่งต้องการการเติบโต การดูแล เอาใจใส่
ยอมรับทุกด้านของคนรัก
ไม่ว่าจะเป็นด้านดีหรือด้านเสีย
รวมทั้งข้อบกพร่องหรือความไม่สมบูรณ์แบบของกันและกัน
หากว่าใครหรือว่าผู้ใด เริ่มต้นที่ความหลงใหลในความรัก
เมื่อวันใดที่ “รักไม่หวาน” หรือชีวิตต้องพบกับความยากลำบาก
ในวันนั้นก็จะเป็นวันที่พิสูจน์ซึ่ง “ ความรักแท้ ”
โดย…อาจารย์โทนี่ (สุทธิชัย ปัญญโรจน์)
www.drsuthichai.com

#image_title

เจอที่ดินของผู้อื่น หรือเจอที่ดินรกร้างว่างเปล่า  แล้วล้อมรั้วเพื่อที่จะเอามาเป็นของตนเองครบ 10 ปี  จะได้กรรมสิทธิ์ โดยครอบครองปรปักษ์หรือไม่

เจอที่ดินของผู้อื่น หรือเจอที่ดินรกร้างว่างเปล่า แล้วล้อมรั้วเพื่อที่จะเอามาเป็นของตนเองครบ 10 ปี จะได้กรรมสิทธิ์ โดยครอบครองปรปักษ์หรือไม่

เจอที่ดินของผู้อื่น หรือเจอที่ดินรกร้างว่างเปล่า
แล้วล้อมรั้วเพื่อที่จะเอามาเป็นของตนเองครบ 10 ปี
จะได้กรรมสิทธิ์ โดยครอบครองปรปักษ์หรือไม่
ตอบ ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
โดย…ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่)

อ้างอิงตาม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2542 ที่ดินพิพาท มีลูกจ้างไปทำรั้วลวดหนามเพื่อแสดงอาณาเขตที่ดิน ไม่มีการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดิน ทั้งสภาพที่ดินพิพาทก็เป็นที่ดินว่างเปล่ามีหญ้าขึ้นรกปกคลุมแนวรั้ว ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใด ๆและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์อย่างจริงจัง แสดงว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จำเลยจะทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์ติดต่อกันนานเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2542
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 21 ตารางวา และโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีอาญาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันสร้างรั้วลวดหนามบุกรุกเข้าไปในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่21 ตารางวา เมื่อคดีนี้และคดีอาญาดังกล่าวเป็นมูลกรณีเดียวกัน คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ซึ่งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และเหตุที่จำเลยยกปัญหาเรื่องให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากจำเลยไม่สามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง

แม้คดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ฟังว่า จำเลยได้สร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่1 ไร่ 21 ตารางวา ตั้งแต่ปี 2524 เกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาคงรับฟังเป็นยุติได้แต่เพียงว่า จำเลยได้สร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทจริงเท่านั้น แต่การครอบครองที่ดินของผู้อื่นจนได้กรรมสิทธิ์จะต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ พฤติการณ์ที่จำเลยเข้าไปล้อมรั้วลวดหนามในที่ดินพิพาท ก็เพราะจำเลยซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดกันและเป็นที่ดินแปลงใหญ่มาเพื่อขยายโรงงาน และที่ดินดังกล่าวมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีก 12 คน ภายหลังต่อมาจำเลยจึงได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ในขณะที่จำเลยให้ลูกจ้างไปทำรั้วลวดหนามเพื่อแสดงอาณาเขตที่ดิน ก็ไม่มีการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินก่อน โดยจำเลยเข้าใจตลอดมาว่าแนวรั้วลวดหนามตรงตามแนวเขตที่ดิน ไม่ได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ ทั้งสภาพที่ดินพิพาทก็เป็นที่ดินว่างเปล่ามีหญ้าขึ้นรกปกคลุมแนวรั้ว ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใด ๆและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์อย่างจริงจัง แสดงว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จำเลยจะทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์ติดต่อกันนานเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท

โจทก์อ้างส่งเอกสารต่อศาลภายหลังสืบพยานจำเลยซึ่งนำสืบก่อนเสร็จสิ้นไปแล้ว ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้คู่ความฝ่ายที่สืบพยานก่อนชอบที่จะคัดค้านไว้ แล้วให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังคำพยานเช่นว่ามานั้น แต่คดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้โต้แย้งข้อนำสืบของโจทก์ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา หรือจำเลยยื่นคำแถลงโต้แย้งไว้ในสำนวน สำหรับคำแถลงคัดค้านของจำเลยก็เป็นการคัดค้านคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติม มิใช่เป็นคำแถลงโต้แย้งกรณีตามบทมาตรา 89 วรรคสอง กรณีจึงไม่ต้องห้ามที่จะให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวที่โจทก์นำสืบนั้น

#image_title

ครอบครองปรปักษ์

ครอบครองปรปักษ์

ครอบครองปรปักษ์ โดย…ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ ในทางปฏิบัติ แม้จะเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 1382 กำหนดแล้ว ก็ไม่ใช่จะได้มาได้โดยง่ายเพราะบุคคลที่อ้างการครอบครองปรปักษ์ที่ดินนั้น จะต้องดำเนินการ จ้างทนายความ พร้อมแสดงหลักฐาน ”ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์”
ก่อนศาลจะพิจารณาหรือมีคำสั่ง จะต้องกระบวนการต่างๆ โดยศาลจะมีหมายส่งไปยังเจ้าของที่ดิน ที่มีชื่อในกรรมสิทธิ์(โฉนด)ดังกล่าว เพื่อให้มาแสดงตนในการ “คัดค้าน”และศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ที่ครองครองกล่าวอ้างการครอบครองปรปักษ์ดำเนินการเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินพิพาท และนำหลักฐานอื่นๆมาแสดงเช่น พยานบุคคล,ภาพถ่ายที่ดินที่ได้ครอบครอง,แผนที่ที่ดิน ฯลฯ เพื่อประกอบการพิจารณาในศาลด้วย
ในกรณีไม่มีผู้คัดค้านหรือเจ้าของที่ดินมาแสดงตน ศาลอาจจะมีคำสั่งให้บุคคลผู้ครอบครองที่ดินนั้นได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และผู้ครอบครองนั้นจะต้องนำคำสั่งศาลไปติดต่อกรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินจังหวัด เพื่อขอเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวได้

#image_title