by drsuthichai | Jan 7, 2025 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ, ออนไลน์น่ารู้, เตือนภัยมิจฉาชีพออนไลน์
กรณีที่ซื้อทรัพย์จากการประมูลในการขายทอดตลาด สำนักงานบังคับคดี ปรากฏว่า จำเลย ลูกหนี้ และบริวารไม่ยอมออกจากทรัพย์ที่ประมูลได้
คำถามที่พบบ่อย คือผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดหรือประมูลสู้ราคาได้ จากสำนักงานบังคับคดี แต่กลับพบว่ายังมีลูกหนี้ บริวาร ยังคงพักอาศัยอยู่บ้าน หรือคอนโดหรือที่ดินนั้น เราควรทำอย่างไร
ตอบ : ผู้ซื้อทรัพย์หรือผู้ประมูลได้จะต้องไปยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อบังคับให้ลูกหนี้ พร้อมบริวาร ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากทรัพย์ประมูล โดยผู้ซื้อหรือผู้ประมูลได้ ไม่จำเป็นต้องไปยื่นคำฟ้องขับไล่เป็นคดีใหม่ ตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายขึ้นกว่าในอดีต

#image_title
by drsuthichai | Jan 5, 2025 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
การฟ้องร้องคดีตามสัญญากู้ยืมเงิน การลงชื่อในกระดาษเปล่า (ไม่ได้กรอกจำนวนเงินกู้ยืมเงิน) แบ่งได้ออกเป็น 2 กรณี1. ผู้ให้กู้กรอกตัวเลขตามความเป็นจริง สามารถฟ้องร้องคดีได้ อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/25482. ผู้ให้กู้กรอกตัวเลขสูงกว่าความเป็นจริงที่กู้เงินจริง ถือว่าเป็นเอกสารปลอม เท่ากับไม่มีหลักฐานการกู้ยืมมาฟ้องร้องคดี ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดเลย อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2548

#image_title
by drsuthichai | Jan 5, 2025 | การศึกษา, บริการรับจ้างทั่วไป
หลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ จะมีขึ้นก่อนหรือหลังกู้ยืมเงินก็ได้ แต่ต้องก่อนฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2551
หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 นั้นอาจเกิดมีขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ และมิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มอบไว้แก่กัน แม้คำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จะเกิดมีขึ้นภายหลังการกู้ยืมเงินและไม่มีการส่งมอบให้ไว้แก่กันก็ตาม ก็ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยและโจทก์เป็นกรณีที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จำเลยจึงนำสืบการใช้เงินไม่ได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น

#image_title
by drsuthichai | Jan 4, 2025 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
สัญญาเงินกู้ ที่ผู้ให้กู้มากรอกข้อความตัวเลข ไม่ถูกต้องภายหลัง ถือเป็นการปลอมเอกสาร จะฟ้องร้องคดีให้รับผิดชำระหนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2547
จำเลยได้กู้เงินไปเพียง 30,000 บาท แต่โจทก์กลับไปกรอกข้อความในสัญญาเงินกู้เป็นเงินถึง 109,000 บาท โดยจำเลยไม่ได้ยินยอม สัญญากู้จึงเป็นเอกสารปลอม โจทก์ไม่อาจนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในการฟ้องคดีได้ เมื่อเงินกู้จำนวนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้มาแสดง โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ได้

#image_title
by drsuthichai | Jan 3, 2025 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
การขอทางจำเป็น ขนาดของทาง ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงประกาศคณะปฏิวัติ ศาลให้ 5 เมตรคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2520โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่)ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านโดยให้เสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด เปิดทางกว้าง 5 เมตร เหมาะสมแล้ว จะนำประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ให้เปิดทางกว้าง 8 เมตร มาอ้างไม่ได้

#image_title
by drsuthichai | Dec 31, 2024 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
สู้คดีด้วยอายุความ อายุความฟ้องคดีกู้ยืมเงิน
โดย…ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่)
5 ปี บัตรสินเชื่อหรือสัญญาเงินกู้ ที่ มีกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ(ผ่อนเป็นงวดๆ) มีอายุความ 5 ปี
10 ปีการฟ้องร้องเรียกเงินคืน ตามสัญญากู้ยืมเงินหรือสินเชื่อเงินกู้ ต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับตั้งแต่วันถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน

#image_title