เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2558แม้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 และมาตรา 214 แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายกฎหมายคุ้มครองให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ตามมาตรา 1734 และมาตรา 1738 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ได้ การที่ทายาทของลูกหนี้จะต้องรับผิดทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกก็เพื่อให้เจ้าหนี้มีทางได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ไม่ทำให้ทายาทนั้นต้องรับผิดชดใช้จากทรัพย์สินส่วนตัวด้วย หากทายาทรับทรัพย์สินจากกองมรดกของผู้ตายไปแล้วก็เพียงให้รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับไปตามมาตรา 1601 และมาตรา 1738 วรรคสอง โดยยังถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับไปนั้นเป็นกองมรดกอยู่ คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทรับผิดในค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ตายเจ้ามรดกกระทำละเมิด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาท#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2558แม้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 และมาตรา 214 แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายกฎหมายคุ้มครองให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ตามมาตรา 1734 และมาตรา 1738 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ได้ การที่ทายาทของลูกหนี้จะต้องรับผิดทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกก็เพื่อให้เจ้าหนี้มีทางได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ไม่ทำให้ทายาทนั้นต้องรับผิดชดใช้จากทรัพย์สินส่วนตัวด้วย หากทายาทรับทรัพย์สินจากกองมรดกของผู้ตายไปแล้วก็เพียงให้รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับไปตามมาตรา 1601 และมาตรา 1738 วรรคสอง โดยยังถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับไปนั้นเป็นกองมรดกอยู่ คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทรับผิดในค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ตายเจ้ามรดกกระทำละเมิด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาท#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2558
แม้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 และมาตรา 214 แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายกฎหมายคุ้มครองให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ตามมาตรา 1734 และมาตรา 1738 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ได้ การที่ทายาทของลูกหนี้จะต้องรับผิดทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกก็เพื่อให้เจ้าหนี้มีทางได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ไม่ทำให้ทายาทนั้นต้องรับผิดชดใช้จากทรัพย์สินส่วนตัวด้วย หากทายาทรับทรัพย์สินจากกองมรดกของผู้ตายไปแล้วก็เพียงให้รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับไปตามมาตรา 1601 และมาตรา 1738 วรรคสอง โดยยังถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับไปนั้นเป็นกองมรดกอยู่ คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทรับผิดในค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ตายเจ้ามรดกกระทำละเมิด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาท
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

ที่ดินสินสมรสโอนที่ดินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จะเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายไม่ได้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2537เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงอ้างสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยที่ 3 ผู้รับโอนคนใหม่ไม่ได้ ไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตหรือไม่ เพราะสิทธิของโจทก์ได้ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ครั้งจำเลยที่ 2 รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินสมรสที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือให้ความยินยอมนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 รู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต นิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นโมฆะ ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปจัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์ถ้าไม่สามารถโอนได้ ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้ราคา   จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา    จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตในราคา 250,000 บาทต่อมาจำเลยที่ 2 ได้โอนขายให้จำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นเดียวกันจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง      จำเลยที่ 3 ให้การว่า การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำโดยสุจริตจำเลยที่ 3 ได้จดทะเบียนซื้อขายจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริต ขอให้ยกฟ้อง   ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์  โจทก์อุทธรณ์    ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน  โจทก์ฎีกา ศาลฏีกาพิพากษายืน#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

ที่ดินสินสมรสโอนที่ดินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จะเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายไม่ได้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2537เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงอ้างสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยที่ 3 ผู้รับโอนคนใหม่ไม่ได้ ไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตหรือไม่ เพราะสิทธิของโจทก์ได้ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ครั้งจำเลยที่ 2 รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินสมรสที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือให้ความยินยอมนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 รู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต นิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นโมฆะ ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปจัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์ถ้าไม่สามารถโอนได้ ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้ราคา จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตในราคา 250,000 บาทต่อมาจำเลยที่ 2 ได้โอนขายให้จำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นเดียวกันจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 3 ให้การว่า การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำโดยสุจริตจำเลยที่ 3 ได้จดทะเบียนซื้อขายจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริต ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฏีกาพิพากษายืน#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

ที่ดินสินสมรสโอนที่ดินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จะเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายไม่ได้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2537เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงอ้างสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยที่ 3 ผู้รับโอนคนใหม่ไม่ได้ ไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตหรือไม่ เพราะสิทธิของโจทก์ได้ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ครั้งจำเลยที่ 2 รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินสมรสที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือให้ความยินยอมนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 รู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต นิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นโมฆะ ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปจัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์ถ้าไม่สามารถโอนได้ ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้ราคา จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตในราคา 250,000 บาทต่อมาจำเลยที่ 2 ได้โอนขายให้จำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นเดียวกันจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 3 ให้การว่า การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำโดยสุจริตจำเลยที่ 3 ได้จดทะเบียนซื้อขายจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริต ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฏีกาพิพากษายืน#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

ตัวการร่วมกันลักทรัพย์  คำพิพากษาศาลฎีกาที่  428/2567 แม้จะไม่มีพยานเห็นขณะจำเลยร่วมกับ บ. ยกถังสแตนเลสของโจทก์ร่วมขึ้นรถกระบะ แต่จากพฤติการณ์ที่จำเลยและ บ. ร่วมนั่งมาในรถกระบะคันเดียวกันโดยขาออกจากไร่มีถังดังกล่าวบรรทุกอยู่ที่กระบะท้าย ครั้นเมื่อกลับเข้ามาในไร่พร้อมกันกลับไม่มีถังดังกล่าวบรรทุกกลับมาด้วย บ่งชี้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับ บ. เป็นคนร้ายลักเอาถังสแตนเลสของโจทก์ร่วมไป #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

ตัวการร่วมกันลักทรัพย์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2567 แม้จะไม่มีพยานเห็นขณะจำเลยร่วมกับ บ. ยกถังสแตนเลสของโจทก์ร่วมขึ้นรถกระบะ แต่จากพฤติการณ์ที่จำเลยและ บ. ร่วมนั่งมาในรถกระบะคันเดียวกันโดยขาออกจากไร่มีถังดังกล่าวบรรทุกอยู่ที่กระบะท้าย ครั้นเมื่อกลับเข้ามาในไร่พร้อมกันกลับไม่มีถังดังกล่าวบรรทุกกลับมาด้วย บ่งชี้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับ บ. เป็นคนร้ายลักเอาถังสแตนเลสของโจทก์ร่วมไป #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

ตัวการร่วมกันลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2567
แม้จะไม่มีพยานเห็นขณะจำเลยร่วมกับ บ. ยกถังสแตนเลสของโจทก์ร่วมขึ้นรถกระบะ แต่จากพฤติการณ์ที่จำเลยและ บ. ร่วมนั่งมาในรถกระบะคันเดียวกันโดยขาออกจากไร่มีถังดังกล่าวบรรทุกอยู่ที่กระบะท้าย ครั้นเมื่อกลับเข้ามาในไร่พร้อมกันกลับไม่มีถังดังกล่าวบรรทุกกลับมาด้วย บ่งชี้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับ บ. เป็นคนร้ายลักเอาถังสแตนเลสของโจทก์ร่วมไป
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

เชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2547บทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 84 หมายความว่า ผู้ใช้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดโดยผู้ถูกใช้รู้ว่าการกระทำตามที่ถูกใช้เป็นความผิด หากผู้ถูกใช้กระทำความผิดตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ หากผู้ถูกใช้ไม่กระทำผิดตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษหนึ่งในสามของโทษที่กำหนด คดีนี้ บ. เป็นนักการภารโรงไม่มีส่วนได้เสียในบัญชีเงินกู้และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างหรือให้ประโยชน์แก่ บ. ในการเผาทำลายบัญชีเงินกู้ จึงไม่มีเหตุที่ บ. ต้องเผาบัญชีเงินกู้ หาก บ. ทราบว่าการเผาทำลายบัญชีเงินกู้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย บ. ก็คงไม่กระทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 เนื่องจาก บ. อาจต้องรับโทษโดยที่ตนเองไม่ได้ประโยชน์ แต่ บ. ยอมเผาบัญชีเงินกู้ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาคงเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ บ. เผาบัญชีเงินกู้นั้น จึงไม่ใช่เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เพราะ บ. ผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่เป็นการที่จำเลยที่ 1 ใช้ บ. เป็นเครื่องมือของจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

เชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2547บทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 84 หมายความว่า ผู้ใช้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดโดยผู้ถูกใช้รู้ว่าการกระทำตามที่ถูกใช้เป็นความผิด หากผู้ถูกใช้กระทำความผิดตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ หากผู้ถูกใช้ไม่กระทำผิดตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษหนึ่งในสามของโทษที่กำหนด คดีนี้ บ. เป็นนักการภารโรงไม่มีส่วนได้เสียในบัญชีเงินกู้และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างหรือให้ประโยชน์แก่ บ. ในการเผาทำลายบัญชีเงินกู้ จึงไม่มีเหตุที่ บ. ต้องเผาบัญชีเงินกู้ หาก บ. ทราบว่าการเผาทำลายบัญชีเงินกู้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย บ. ก็คงไม่กระทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 เนื่องจาก บ. อาจต้องรับโทษโดยที่ตนเองไม่ได้ประโยชน์ แต่ บ. ยอมเผาบัญชีเงินกู้ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาคงเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ บ. เผาบัญชีเงินกู้นั้น จึงไม่ใช่เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เพราะ บ. ผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่เป็นการที่จำเลยที่ 1 ใช้ บ. เป็นเครื่องมือของจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

เชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2547
บทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 84 หมายความว่า ผู้ใช้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดโดยผู้ถูกใช้รู้ว่าการกระทำตามที่ถูกใช้เป็นความผิด หากผู้ถูกใช้กระทำความผิดตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ หากผู้ถูกใช้ไม่กระทำผิดตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษหนึ่งในสามของโทษที่กำหนด คดีนี้ บ. เป็นนักการภารโรงไม่มีส่วนได้เสียในบัญชีเงินกู้และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างหรือให้ประโยชน์แก่ บ. ในการเผาทำลายบัญชีเงินกู้ จึงไม่มีเหตุที่ บ. ต้องเผาบัญชีเงินกู้ หาก บ. ทราบว่าการเผาทำลายบัญชีเงินกู้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย บ. ก็คงไม่กระทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 เนื่องจาก บ. อาจต้องรับโทษโดยที่ตนเองไม่ได้ประโยชน์ แต่ บ. ยอมเผาบัญชีเงินกู้ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาคงเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ บ. เผาบัญชีเงินกู้นั้น จึงไม่ใช่เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เพราะ บ. ผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่เป็นการที่จำเลยที่ 1 ใช้ บ. เป็นเครื่องมือของจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

จำเลยเป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2537จำเลยใช้ให้เด็กหญิงป.ไปรับยาเสพติดให้โทษเฮโรอีน โดยเด็กหญิงป.ไม่ทราบข้อเท็จจริง การที่เด็กหญิงป. ครอบครองยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนก็ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนเอง#ทนายโทนี่  #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

จำเลยเป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2537จำเลยใช้ให้เด็กหญิงป.ไปรับยาเสพติดให้โทษเฮโรอีน โดยเด็กหญิงป.ไม่ทราบข้อเท็จจริง การที่เด็กหญิงป. ครอบครองยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนก็ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนเอง#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

จำเลยเป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2537
จำเลยใช้ให้เด็กหญิงป.ไปรับยาเสพติดให้โทษเฮโรอีน โดยเด็กหญิงป.ไม่ทราบข้อเท็จจริง การที่เด็กหญิงป. ครอบครองยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนก็ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนเอง
#ทนายโทนี่  #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

การถูกหลอกให้กระทำความผิด (Innocent Agent ตัวแทนโดยบริสุทธิ์)คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14213/2557จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายเบิกถอนเงินของผู้เสียหายจากตู้เอทีเอ็มของธนาคารโดยสำคัญผิดว่าจำเลยที่ 3 ผู้มอบบัตรเอทีเอ็มและใช้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปเบิกถอนเงินมีสิทธิที่จะใช้บัตรเอทีเอ็มนั้นได้ แม้ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 3 มีสิทธิใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายไปเบิกถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารจะไม่มีอยู่จริง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สำคัญผิดว่ามีอยู่จริง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง แต่ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดของจำเลยที่ 3 เอง และแม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิด แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ เพราะไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะกระทำผิดด้วยตัวเอง หรือเป็นการกระทำผิดโดยอ้อม จำเลยที่ 3 ก็มีสถานะเป็นผู้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องเหมือนกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาจึงย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

การถูกหลอกให้กระทำความผิด (Innocent Agent ตัวแทนโดยบริสุทธิ์)คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14213/2557จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายเบิกถอนเงินของผู้เสียหายจากตู้เอทีเอ็มของธนาคารโดยสำคัญผิดว่าจำเลยที่ 3 ผู้มอบบัตรเอทีเอ็มและใช้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปเบิกถอนเงินมีสิทธิที่จะใช้บัตรเอทีเอ็มนั้นได้ แม้ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 3 มีสิทธิใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายไปเบิกถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารจะไม่มีอยู่จริง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สำคัญผิดว่ามีอยู่จริง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง แต่ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดของจำเลยที่ 3 เอง และแม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิด แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ เพราะไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะกระทำผิดด้วยตัวเอง หรือเป็นการกระทำผิดโดยอ้อม จำเลยที่ 3 ก็มีสถานะเป็นผู้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องเหมือนกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาจึงย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

การถูกหลอกให้กระทำความผิด (Innocent Agent ตัวแทนโดยบริสุทธิ์)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14213/2557
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายเบิกถอนเงินของผู้เสียหายจากตู้เอทีเอ็มของธนาคารโดยสำคัญผิดว่าจำเลยที่ 3 ผู้มอบบัตรเอทีเอ็มและใช้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปเบิกถอนเงินมีสิทธิที่จะใช้บัตรเอทีเอ็มนั้นได้ แม้ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 3 มีสิทธิใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายไปเบิกถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารจะไม่มีอยู่จริง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สำคัญผิดว่ามีอยู่จริง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง แต่ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดของจำเลยที่ 3 เอง และแม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิด แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ เพราะไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะกระทำผิดด้วยตัวเอง หรือเป็นการกระทำผิดโดยอ้อม จำเลยที่ 3 ก็มีสถานะเป็นผู้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องเหมือนกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาจึงย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์